เกี่ยวกับ สศช.
พิพิธภัณฑ์สุริยานุวัตรเพื่อการพัฒนาประเทศ
พิพิธภัณฑ์สุริยานุวัตรเพื่อการพัฒนาประเทศ
ตั้งอยู่ในอาคารสุริยานุวัตร
บริเวณริมคลองผดุงกรุงเกษม อันเป็นสถานที่ตั้งแห่งนี้ในอดีตเป็นบ้านเดิม
ของมหาอำมาตย์เอก พระยาสุริยานุวัตร (เกิด บุนนาค) ผู้ที่มีความสำคัญ
ทางประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวเนื่องกับการพัฒนาประเทศไทยหลายประการ
โดยได้ใช้เป็นปัจจุบันคือที่ทำการของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจ
และสังคมแห่งชาติ (สศช.) ตั้งแต่ปี ๒๔๙๓ เป็นต้นมา
"พระยาสุริยานุวัตร”
มีชีวิตอยู่ปลายรัชกาลที่ ๔ จนถึงต้นรัชกาลที่ ๘ (พ.ศ. ๒๔๐๕ – ๒๔๗๙)
เป็น
นักเศรษฐศาสตร์ยุคแรกของประเทศไทย
ระหว่างที่ท่านเป็นอัครราชทูตได้สร้างผลงานไว้
มากมาย เช่น ได้เรียบเรียงหนังสือ "ขนบธรรมเนียมราชการต่างประเทศ” ซึ่งถือเป็นตำรา
กฎหมายและการปฏิบัติระหว่างประเทศเรื่องการทูตภาษาไทยเล่มแรก ดำริให้ทำโค้ดโทร
เลขเพื่อใช้ในการทูตของไทยขึ้นเป็นครั้งแรกชื่อ "สุริยาโค้ด” และ "สยามมาคูโต” โดยใช้
ในราชการมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๔๗ และยังใช้ติดต่อกันมาเป็นเวลานานและที่สำคัญระหว่าง
ที่เป็นอุปทูตที่ฝรั่งเศส ท่านมีบทบาทสำคัญในการเจรจากรณีวิกฤตการณ์ ร.ศ. ๑๑๒ หรือ
เหตุการณ์สู้รบระหว่างไทยกับฝรั่งเศสที่ปากน้ำเจ้าพระยาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๖
นอกจากนี้ ระหว่างที่ท่านเป็นเสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ซึ่งเป็นกระทรวงสำคัญ
ที่เปรียบเสมือนหัวใจของแผ่นดินและของพระมหากษัตริย์ ได้สร้างผลงานที่สำคัญไว้
หลายเรื่อง เช่น ปฏิรูปการจัดเก็บภาษี
ดร.อำพน กิตติอำพน
องคมนตรี อดีตประธานกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และอดีตเลขาธิการ สศช. ได้ตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญทางประวัติศาสตร์ของอาคาร
สุริยานุวัตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณูปการของ "พระยาสุริยานุวัตร” ที่มีต่อประเทศไทย จึงได้ดำริ
ให้จัดทำ "พิพิธภัณฑ์สุริยานุวัตรเพื่อการพัฒนาประเทศ” ขึ้น เพื่อเป็นแหล่งเผยแพร่และแลกเปลี่ยน
เรียนรู้เรื่องราวที่เกี่ยวกับการพัฒนาประเทศไทย
ต่อมา ในปี ๒๕๖๔
นายดนุชา พิชยนันท์
เลขาธิการ สศช. เห็นชอบให้ปรับปรุงพิพิธภัณฑ์ฯ โดย
ได้รับความอนุเคราะห์จาก
สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ
รับเป็นที่ปรึกษาให้คำแนะนำอย่าง
ใกล้ชิดจนการปรับปรุงพิพิธภัณฑ์สำเร็จลุล่วงเป็นอย่างดี สศช. จึงขอขอบคุณสถาบันฯ มา ณ ที่นี้
ชมพิพิธภัณฑ์ออนไลน์
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 962 ถนนกรุงเกษม แขวงวัดโสมนัส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพฯ 10100
โทรศัพท์ : 02-2804085 (40 คู่สาย) แฟกซ์ : 0-2281-3938 E-mail : pr@nesdc.go.th , webmaster@nesdc.go.th
นโยบายเว็บไซต์
|
นโยบายข้อมูลส่วนบุคคล
|
นโยบายการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของเว็บไซต์