ข่าวสาร/กิจกรรม
|
การติดตามโครงการภายใต้แผนงานสร้างความเข้มแข็งแก่เศรษฐกิจฐานราก เพื่อขับเคลื่อนแผนพัฒนาภาคสู่การปฏิบัติ จังหวัดสกลนคร
วันที่ 23 ธ.ค. 2565 (จำนวนผู้เข้าชม 34)
|
เมื่อวันที่ 20 - 21 ธันวาคม 2565 นายเอ็นนู ซื่อสุวรรณ ผู้ทรงคุณวุฒิและหัวหน้ากำกับการลงพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คณะอนุกรรมการติดตามโครงการภายใต้แผนงานสร้างความเข้มแข็งแก่เศรษฐกิจฐานราก พร้อมด้วย นางสาวนิสากร จึงเจริญธรรม ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม นางศศิฑอณร์ สุวรรณมณี หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงวัฒนธรรม นายชัฐพล สายะพันธ์ ผู้อำนวยการศูนย์ประเมินผลสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร และเจ้าหน้าที่ สศช. ลงพื้นที่จังหวัดสกลนคร เพื่อประชุมหารือรับฟังปัญหาและผลการดำเนินงานโครงการสำคัญเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากในระดับพื้นที่ 3 โครงการ ได้แก่
1. โครงการยกระดับแปลงใหญ่ด้วยเกษตรสมัยใหม่และเชื่อมโยงตลาด ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรณีแปลงใหญ่มะเขือเทศ ตำบลเต่างอย อำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร
2. โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย) ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กรณีการอบรมพัฒนาอาชีพการแปรรูปน้ำผลไม้ และการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์จากหมากเม่า ร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์ซาโต เดอ ภูพาน ตำบลสร้างค้อ อำเภอภูพาน จังหวัดสกลนคร ดำเนินการโดย มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร
3. โครงการกระตุ้นและส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมชุมชน (CCPOT) สู่สากล ของกระทรวงวัฒนธรรม กรณีชุมชนคุณธรรมบ้านนางเติ่ง (ผ้าครามปักลาย) ร้านจำหน่ายสินค้าผ้าคราม ถนนเรืองสวัสดิ์ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร
การลงพื้นที่ติดตามโครงการดังกล่าวพบว่า การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายของโครงการ โดยหัวหน้ากำกับการลงพื้นที่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้มอบนโยบายในการดำเนินโครงการโดยควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาตลอดห่วงโซ่การพัฒนา ทั้งในด้านการผลิต การแปรรูป และการตลาด โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ควรบูรณาการการทำงานกับทุกภาคส่วน โดยเฉพาะสถาบันการศึกษาในพื้นที่ให้มีการเชื่อมโยงกับชุมชนในการสนับสนุนองค์ความรู้ทางวิชาการในการพัฒนา เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพเพื่อเพิ่มมูลค่า การประชาสัมพันธ์และการจัดการด้านการตลาด รวมทั้งให้มีการสำรวจข้อมูลความต้องการและปัญหาของชุมชน เพื่อให้การแก้ไขปัญหาได้ตรงความต้องการของชุมชนได้อย่างแท้จริง นำไปสู่การสร้างงานสร้างรายได้ให้อย่างยั่งยืน |