ข่าวสาร/กิจกรรม
เลขาธิการ สศช. พร้อมคณะผู้บริหาร แถลงข่าวรายงานภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่สองของปี 2560 และแนวโน้มปี 2560
วันที่ 21 ส.ค. 2560
ดร.ปรเมธี  วิมลศิริ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และ นางสาวลดาวัลย์  คำภา รองเลขาธิการฯ พร้อมด้วยที่ปรึกษาด้านนโยบายและแผนงาน สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้แก่ นายทีปรัตน์  วัชรางกูร  ดร.วิชญายุทธ  บุญชิต รวมทั้งนางพัชรินทร์  ศรีนพนิคม รักษาการที่ปรึกษาด้านนโยบายและแผนงาน และนางสาวประสพศรี  รักความสุข รักษาการผู้อำนวยการสำนักพัฒนาฐานข้อมูลและตัวชี้วัดภาวะสังคม ร่วมแถลงข่าวตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ในไตรมาสที่สองของปี 2560 และแนวโน้มปี 2560 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สองของปี 2560

เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สองของปี 2560 ขยายตัวร้อยละ 3.7 เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 3.3 ในไตรมาสก่อนหน้า และเมื่อปรับผลของฤดูกาลออกแล้ว เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สองของปี 2560 ขยายตัวจากไตรมาสแรกของปี 2560 ร้อยละ 1.3 (QoQ_SA) รวมครึ่งแรกของปี 2560 เศรษฐกิจไทยขยายตัวร้อยละ 3.5 

ด้านการใช้จ่าย มีปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวเร่งขึ้นของการส่งออกสินค้าและบริการ และการใช้จ่ายภาครัฐบาล รวมทั้งการขยายตัวต่อเนื่องของการบริโภคภาคเอกชน และการปรับตัวดีขึ้นของการลงทุนภาคเอกชน ในขณะที่การลงทุนภาครัฐปรับตัวลดลง การบริโภคภาคเอกชนขยายตัวในเกณฑ์ดีร้อยละ 3.0 ต่อเนื่องจากการขยายตัวร้อยละ 3.2 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการปรับตัวดีขึ้นของรายได้ครัวเรือนภาคเกษตร ภาคการส่งออก และภาคการท่องเที่ยว สอดคล้องกับการขยายตัวของปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่ง ปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ และดัชนีภาษีมูลค่าเพิ่มหมวดโรงแรมและภัตตาคาร (ราคาคงที่) ร้อยละ 13.9 ร้อยละ 8.2 และร้อยละ 6.5 ตามลำดับ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมอยู่ที่ระดับ 64.3 การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคของรัฐบาลเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7 ปรับตัวดีขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 0.3 ในไตรมาสก่อนหน้า การลงทุนรวมขยายตัวร้อยละ 0.4 โดยการลงทุนภาคเอกชนกลับมาขยายตัวร้อยละ 3.2 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 1.1 ในไตรมาสก่อนหน้า เป็นผลมาจากการลงทุนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักรขยายตัวร้อยละ 3.2 และการลงทุนในหมวดก่อสร้างขยายตัวร้อยละ 3.1 ในขณะที่การลงทุนภาครัฐลดลงร้อยละ 7.0 โดยการลงทุนของรัฐบาลลดลงร้อยละ 18.2 สอดคล้องกับการลดลงของการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายลงทุนร้อยละ 17.7 และอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 14.3 เทียบกับเป้าหมายที่กำหนดไว้ร้อยละ 22.0 โดยส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการเร่งเบิกจ่ายในช่วงก่อนหน้า ในขณะที่การเบิกจ่ายจากงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมยังอยู่ในระยะแรกของการดำเนินการ ซึ่งมีแนวโน้มที่จะเร่งตัวขึ้นและสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจมากขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง ส่วนการลงทุนของรัฐวิสาหกิจขยายตัวร้อยละ 20.5 ปรับตัวดีขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 17.0 ในไตรมาสแรก

ในด้านภาคต่างประเทศ การส่งออกสินค้ามีมูลค่า 56,145 ล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวสูงและเร่งขึ้นจากร้อยละ 6.8 ในไตรมาสก่อนหน้า เป็นร้อยละ 8.0 ในไตรมาสนี้ ตามการขยายตัวเร่งขึ้นของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าหลักและการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าในตลาดโลก โดยปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.1 เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 2.9 ในไตรมาสแรก และราคาสินค้าส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8 กลุ่มสินค้าส่งออกที่มูลค่าขยายตัว เช่น ข้าว ยางพารา ผลิตภัณฑ์ยาง ชิ้นส่วนและอุปกรณ์ยานยนต์ เครื่องจักรและอุปกรณ์และผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม เป็นต้น กลุ่มสินค้าส่งออกที่มูลค่าลดลง เช่น รถยนต์นั่ง เครื่องปรับอากาศ และมันสำปะหลัง เป็นต้น การส่งออกไปยังตลาดสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป (15) ญี่ปุ่น จีน และอาเซียน (9) ขยายตัว แต่การส่งออกไปยังตลาดออสเตรเลีย และตะวันออกกลาง (15) ลดลง เมื่อหักการส่งออกทองคำที่ยังไม่ขึ้นรูปออกแล้ว มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.9 เมื่อคิดในรูปของเงินบาท มูลค่าการส่งออกสินค้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.9 การนำเข้าสินค้า มีมูลค่า 49,523 ล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวร้อยละ 13.8 เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของราคานำเข้าร้อยละ 4.5 และปริมาณการนำเข้าร้อยละ 8.9 โดยปริมาณการนำเข้าสินค้าขยายตัวเร่งขึ้นในทุกหมวดสินค้า สอดคล้องกับการขยายตัวเร่งขึ้นของการส่งออกและการขยายตัวต่อเนื่องของอุปสงค์ภายในประเทศ

การขยายตัวของมูลค่าการส่งออกและเศรษฐกิจของประเทศสำคัญ

ประเทศ

การส่งออก (%YoY)

GDP (%YoY)

2559

2560

2559

2560

ทั้งปี

Q1

Q2

Q3

Q4

Q1

Q2

ทั้งปี

Q1

Q2

Q3

Q4

Q1

Q2

สหรัฐฯ

-3.6

-7.3

-6.4

-2.5

1.7

7.7

5.8

1.5

1.4

1.2

1.5

1.8

2.0

2.1

จีน

-7.7

-13.0

-6.4

-7.0

-5.3

7.8

9.1

6.7

6.7

6.7

6.7

6.8

6.9

6.9

ญี่ปุ่น

3.2

-4.6

1.8

7.0

8.8

10.0

7.3

1.0

0.5

0.9

1.1

1.7

1.5

2.0

ฮ่องกง

-0.6

-7.0

-1.2

-0.3

5.3

10.5

7.0

2.0

1.0

1.8

2.0

3.2

4.3

3.8

อินเดีย

-1.3

-7.8

-2.0

-0.8

6.0

18.5

10.0

7.9

9.1

7.9

7.5

7.0

6.1

-

อินโดนีเซีย

-3.5

-14.0

-7.5

-4.9

14.0

21.1

7.9

5.0

4.9

5.2

5.0

4.9

5.0

5.0

เกาหลีใต้

-5.9

-13.7

-6.7

-5.0

1.8

14.7

16.7

2.8

2.9

3.4

2.6

2.4

2.9

2.7

มาเลเซีย

-4.8

-11.5

-7.2

-2.1

1.9

14.4

11.5

4.2

4.1

4.0

4.3

4.5

5.6

5.8

ฟิลิปปินส์

-2.4

-6.7

-4.8

-1.8

3.6

16.3

11.0

6.9

6.9

7.1

7.1

6.6

6.4

6.5

สิงคโปร์

-5.5

-15.9

-5.8

-1.8

1.9

16.0

5.5

2.0

1.9

1.9

1.2

2.9

2.5

2.9

ไต้หวัน

-1.8

-12.1

-6.3

0.1

11.7

15.1

10.2

1.5

-0.2

1.1

2.1

2.8

2.7

2.1

ไทย

0.1

-1.6

-2.2

0.3

4.0

6.8

8.0

3.2

3.1

3.6

3.2

3.0

3.3

3.7

เวียดนาม

9.0

6.6

5.2

9.1

14.7

15.1

22.1

6.2

5.5

5.8

6.6

6.7

5.2

6.2

ที่มา: CEIC รวบรวมโดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ


ด้านการผลิต การผลิตสาขาเกษตรกรรม สาขาการค้าส่งค้าปลีก สาขาโรงแรมและภัตตาคาร และสาขาการขนส่งและคมนาคมขยายตัวเร่งขึ้น สาขาอุตสาหกรรมชะลอตัวลงเล็กน้อย ในขณะที่สาขาก่อสร้าง และสาขาไฟฟ้า ก๊าซ และการประปาปรับตัวลดลง โดยสาขาเกษตรกรรมขยายตัวสูงและเร่งขึ้นเป็นร้อยละ 15.8 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 5.7 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการปรับตัวเข้าสู่ภาวะปกติหลังจากภัยแล้งสิ้นสุดลง โดยผลผลิตพืชเกษตรสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ ข้าวเปลือกนาปรัง ยางพารา มันสำปะหลัง ข้าวโพด ปาล์มน้ำมัน และผลไม้ (เช่น ทุเรียน สับปะรด ลำไย มังคุด และลิ้นจี่ เป็นต้น) เช่นเดียวกับการเพิ่มขึ้นของผลผลิตหมวดปศุสัตว์และหมวดประมง (เฉพาะกุ้งขาวแวนนาไม) ดัชนีราคาสินค้าเกษตรเริ่มปรับตัวลดลงร้อยละ 1.9 ตามปริมาณผลผลิตที่ออกสู่ตลาดมากขึ้นหลังจากภัยแล้งสิ้นสุดลงทั้งในและต่างประเทศ โดยราคาพืชเกษตรสำคัญที่ลดลง ได้แก่ ข้าวเปลือก ปาล์มน้ำมัน ข้าวโพด มันสำปะหลัง เช่นเดียวกับราคาหมวดปศุสัตว์และหมวดประมง (เฉพาะกุ้งขาวแวนนาไม) ที่ปรับตัวลดลง ในขณะที่ราคายางพาราและอ้อยเพิ่มขึ้นการเพิ่มขึ้นของดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรส่งผลให้ดัชนีรายได้เกษตรกรโดยรวมเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 4 ร้อยละ 14.6 สาขาอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 1.0 ชะลอตัวลงจากการขยายตัวร้อยละ 1.3 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการปรับตัวลดลงของอุตสาหกรรมสำคัญบางรายการ สอดคล้องกับดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมที่ลดลงร้อยละ 0.1 โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมกลุ่มการผลิตเพื่อบริโภคภายในประเทศ (สัดส่วนส่งออกน้อยกว่าร้อยละ 30) ลดลงร้อยละ 1.4 ซึ่งมีสาเหตุสำคัญมาจากการลดลงของการผลิตเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กกล้าขั้นมูลฐาน และเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ รวมทั้งน้ำดื่มบรรจุขวด ในขณะที่ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมที่มีสัดส่วนการส่งออกในช่วงร้อยละ 30 - 60 และดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมกลุ่มการผลิตเพื่อส่งออก (สัดส่วนส่งออกมากกว่าร้อยละ 60) เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 และร้อยละ 1.5 ตามลำดับ ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมที่ขยายตัว เช่น หลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ ผลิตภัณฑ์ยางอื่นๆ และผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม เป็นต้น ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมที่ลดลง เช่น เหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กกล้าขั้นมูลฐาน ยานยนต์ และเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ รวมทั้งน้ำดื่มบรรจุขวด เป็นต้น อัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 59.0 เทียบกับร้อยละ 58.9 ในช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า สาขาการก่อสร้างลดลงร้อยละ 6.2 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 2.8 ในไตรมาสแรก โดยการก่อสร้างภาครัฐลดลงร้อยละ 12.8 (การก่อสร้างของรัฐบาลลดลงร้อยละ 23.2 ในขณะที่การก่อสร้างของรัฐวิสาหกิจเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.5) เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 8.5 ในไตรมาสก่อนหน้า ส่วนการก่อสร้างภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 3.1 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 4.5ในไตรมาสก่อนหน้า โดยการก่อสร้างอาคารที่อยู่อาศัยและการก่อสร้างอื่นๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0 และร้อยละ 12.9 ตามลำดับ ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างลดลงร้อยละ 1.0 ตามการลดลงของดัชนีราคาหมวดซีเมนต์ หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก และหมวดวัสดุก่อสร้างอื่นๆ เป็นสำคัญ สาขาโรงแรมและภัตตาคาร ขยายตัวร้อยละ 7.5 เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 5.3 ในไตรมาสแรก โดยในไตรมาสนี้มีรายรับรวมจากการท่องเที่ยว 625.0 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.4 ประกอบด้วย (1) รายรับจากนักท่องเที่ยวต่างประเทศ 395.0 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.8 เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 3.9 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากรายรับของนักท่องเที่ยวสหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้ มาเลเซีย ลาว และจีน เป็นสำคัญ และ (2) รายรับจากนักท่องเที่ยวชาวไทย 230.0 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.3 เร่งตัวขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 4.6 ในไตรมาสก่อนหน้า อัตราการเข้าพักเฉลี่ยในไตรมาสนี้อยู่ที่ร้อยละ 67.5 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 66.3 ในช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า

เสถียรภาพทางเศรษฐกิจยังอยู่ในเกณฑ์ดี โดยอัตราการว่างงานยังอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 1.2 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยร้อยละ 0.1 บัญชีเดินสะพัดเกินดุล 8.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (284.7 พันล้านบาท) หรือคิดเป็นร้อยละ 7.7 ของ GDP เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2560 อยู่ที่ 185.6 พันล้านดอลลาร์ สรอ. และหนี้สาธารณะ ณ สิ้นไตรมาสที่สามของปีงบประมาณ 2560 มีมูลค่าทั้งสิ้น 6,185.4 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 40.7 ของ GDP 

แนวโน้มเศรษฐกิจไทย ปี 2560

เศรษฐกิจไทย ปี 2560 มีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ 3.5 – 4.0 ปรับตัวดีขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 3.2 ในปี 2559 และเป็นการปรับเพิ่มประมาณการจากร้อยละ 3.3 – 3.8 ในการแถลงข่าวเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2560 โดยการขยายตัวในช่วงที่เหลือของปีมีปัจจัยสนับสนุนจาก (1) การปรับตัวดีขึ้นของการส่งออกตามการขยายตัวเร่งขึ้นของเศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลก (2) การลงทุนภาครัฐและการลงทุนภาคเอกชนที่มีแนวโน้มขยายตัวเร่งขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง (3) การขยายตัวเร่งขึ้นของสาขาการผลิตที่สำคัญ ได้แก่ สาขาโรงแรมและภัตตาคาร สาขาอุตสาหกรรม และสาขาการก่อสร้าง และ (4) การปรับตัวดีขึ้นของฐานรายได้ครัวเรือนในภาคการเกษตร การส่งออก การท่องเที่ยว และบริการที่เกี่ยวเนื่อง ทั้งนี้ คาดว่ามูลค่าการส่งออกสินค้าจะขยายตัวร้อยละ 5.7 การบริโภคภาคเอกชน และการลงทุนรวมขยายตัวร้อยละ 3.2 และร้อยละ 3.4 ตามลำดับ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ในช่วงร้อยละ 0.4 – 0.9 และบัญชีเดินสะพัดเกินดุลร้อยละ 9.7 ของ GDP

รายละเอียดของการประมาณการเศรษฐกิจในปี 2560 ในด้านต่างๆ มีดังนี้ 

1. การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภค การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคของเอกชน คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.2 เพิ่มขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 3.1 ในปี 2559 และเป็นการปรับเพิ่มจากการขยายตัวร้อยละ 3.0 ในการประมาณการครั้งก่อน ตามฐานรายได้ครัวเรือนในสาขาเศรษฐกิจสำคัญๆ ที่เพิ่มขึ้นจากการประมาณการครั้งก่อน โดยเฉพาะฐานรายได้ในภาคเกษตร ฐานรายได้จากการส่งออก และฐานรายได้จากภาคการท่องเที่ยว ซึ่งจะเป็นปัจจัยสนับสนุนการขยายตัวของการบริโภคภาคเอกชนในช่วงที่เหลือของปีอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคภาครัฐบาล คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.2 เร่งตัวขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 1.7 ในปี 2559 และเท่ากับประมาณการครั้งก่อน ตามอัตราการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำที่เป็นไปตามที่คาดไว้

2. การลงทุนรวม คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.4 เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 2.8 ในปี 2559 และเป็นการปรับลดจากการขยายตัวร้อยละ 4.4 ในการประมาณการครั้งที่ผ่านมา โดยเป็นผลจากการปรับลดประมาณการการลงทุนภาครัฐ ซึ่งคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 8.0 ชะลอตัวลงจากการขยายตัวร้อยละ 9.9 ในปี 2559 โดยการลงทุนภาครัฐในช่วงครึ่งหลังของปีมีแนวโน้มเร่งขึ้นตามการเร่งรัดเบิกจ่ายงบรายจ่ายลงทุนของเม็ดเงินคงเหลือภายใต้กรอบงบประมาณรายจ่ายประจำปีและงบรายจ่ายเพิ่มเติม ในขณะที่การเบิกจ่ายจากกรอบงบลงทุนรัฐวิสาหกิจมีแนวโน้มเร่งตัวขึ้นตามความคืบหน้าของการก่อสร้างโครงการลงทุนสำคัญๆ และการขอรับเงินเบิกจ่ายค่างวดงาน ในขณะที่การลงทุนภาคเอกชน คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 2.2 ปรับเพิ่มจากการขยายตัวร้อยละ 2.0 ในการประมาณการครั้งก่อน เนื่องจากการลงทุนภาคเอกชนในไตรมาสที่สองเริ่มฟื้นตัวเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ และมีแนวโน้มที่จะปรับตัวดีขึ้นอย่างช้าๆ ในช่วงครึ่งปีหลัง ตามแนวโน้มการปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องของภาคการส่งออกและความคืบหน้าของโครงการลงทุนภาครัฐ 

3. มูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปเงินดอลลาร์ สรอ. คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 5.7 ปรับตัวดีขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 0.1 ในปี 2559 และเป็นการปรับเพิ่มจากการขยายตัวร้อยละ 3.6 ในการประมาณการครั้งก่อน เนื่องจากการปรับเพิ่มสมมติฐานการขยายตัวของเศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลกจากร้อยละ 3.3 และร้อยละ 3.6 เป็นร้อยละ 3.4 และร้อยละ 4.0 และการปรับเพิ่มสมมติฐานการขยายตัวของราคาสินค้าส่งออกจากเดิมร้อยละ 1.5 – 2.5 เป็นร้อยละ 2.0 - 3.0 ซึ่งส่งผลให้มูลค่าการส่งออกขยายตัวได้สูงขึ้น สอดคล้องกับการขยายตัวสูงกว่าประมาณการของมูลค่าการส่งออกในไตรมาสที่สอง เมื่อรวมกับการปรับเพิ่มสมมติฐานรายได้จากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ คาดว่าปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการจะขยายตัวร้อยละ 4.9 เร่งขึ้นจากร้อยละ 2.1 ในปี 2559 และเป็นการปรับเพิ่มจากการขยายตัวร้อยละ 2.9 ในการประมาณการครั้งที่ผ่านมา

ประเด็นการบริหารเศรษฐกิจในปี 2560 

การบริหารนโยบายเศรษฐกิจในปี 2560 ควรให้ความสำคัญกับ 1) การป้องกันและบรรเทาปัญหาภัยพิบัติทางธรรมชาติ 2) การเบิกจ่ายงบประมาณภายใต้กรอบสำคัญๆ ให้ได้ตามเป้าหมาย 3) การสร้างความเข้มแข็งให้กับ SMEs และเศรษฐกิจฐานราก โดยการดำเนินการตามมาตรการสินเชื่อและการสนับสนุนด้านเงินทุนที่สำคัญๆ ของรัฐบาล การดำเนินการตามโครงการตามแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดภายใต้กรอบงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม การดูแลเสถียรภาพอัตราแลกเปลี่ยนและส่งเสริมให้ SMEs ปกป้องความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของค่าเงิน การเชื่อมโยงห่วงโซ่การผลิตกับธุรกิจและการผลิตขนาดใหญ่ การหาตลาดและขยายตลาดโดยเฉพาะตลาด CLMV และแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานโดยการสนับสนุนการเข้าร่วมโครงการการศึกษาทวิภาคีและการแก้ไขปัญหาการใช้แรงงานต่างชาติ 4) การดูแลรายได้เกษตรกรและผู้มีรายได้น้อย โดยการเตรียมมาตรการรองรับผลผลิตทางการเกษตรที่จะออกสู่ตลาดมากขึ้น การส่งเสริมการเกษตรแปลงใหญ่ การเพิ่มส่วนแบ่งรายได้เกษตรกรในราคาจำหน่ายผลผลิต และการจัดทำฐานข้อมูลเกษตรกรยากจนและฐานข้อมูลผู้มีรายได้น้อย และ 5) การดำเนินการให้การผลิตนอกภาคเกษตรมีการฟื้นตัวอย่างเต็มที่ โดย (1) การสนับสนุนการขยายตัวของการผลิตภาคอุตสาหกรรม โดยการสนับสนุนการส่งออกให้ขยายตัวเร่งขึ้นและกระจายตัวเป็นวงกว้าง การติดตามและแก้ไขปัญหาการใช้นโยบายและมาตรการกีดกันทางการค้าในต่างประเทศ และการส่งเสริมผู้ประกอบการในการใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าภายใต้กรอบข้อตกลงการค้าเสรีกับประเทศต่างๆ (2) การสร้างความเชื่อมั่นและสนับสนุนการฟื้นตัวของการลงทุนภาคเอกชน โดยการดำเนินการตามแผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่ง การกระตุ้นโครงการที่ขอรับการส่งเสริมการลงทุนในช่วงก่อนหน้าให้เริ่มดำเนินการลงทุน และการดำเนินมาตรการเชิงรุกเพื่อชักจูงนักลงทุนในสาขาเป้าหมาย และ (3) การสนับสนุนการขยายตัวของภาคการท่องเที่ยว โดยการดูแลรักษาความปลอดภัยในพื้นที่ท่องเที่ยวสำคัญ การแก้ไขปัญหาความแออัดและการอำนวยความสะดวกของด่านตรวจคนเข้าเมือง การส่งเสริมการขายในตลาดกลุ่มนักท่องเที่ยวรายได้สูง และนักท่องเที่ยวระยะไกล และการส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศควบคู่ไปกับการกระจายรายได้ไปสู่แหล่งท่องเที่ยวในระดับชุมชนและชนบท

ภาพ/ข่าว  สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

ตารางที่ 1 GDP ด้านการผลิต

หน่วย: ร้อยละ

2559

2560

ทั้งปี

ครึ่งปีแรก

ครึ่งปีหลัง

Q1

Q2

Q3

Q4

ครึ่งปีแรก

Q1

Q2

เกษตร

0.6

-1.3

2.3

-2.0

-0.4

0.9

3.0

10.3

5.7

15.8

นอกภาคการเกษตร

3.5

3.8

3.2

3.7

3.9

3.2

3.2

2.9

3.1

2.7

อุตสาหกรรม

1.4

1.0

1.9

-0.2

2.2

1.6

2.2

1.2

1.3

1.0

ไฟฟ้าและประปา

4.3

5.2

3.4

2.6

7.7

4.9

1.8

0.1

1.9

-1.4

ก่อสร้าง

8.3

10.8

5.6

11.9

9.9

5.2

6.1

-1.9

2.8

-6.2

ค้าส่งและค้าปลีก

5.0

4.7

5.4

4.6

4.7

5.2

5.6

5.9

5.9

6.0

โรงแรมและภัตตาคาร

10.3

11.5

9.1

12.3

10.8

13.5

4.9

6.4

5.3

7.5

การขนส่งและสื่อสาร

5.6

5.3

5.8

6.4

4.2

6.5

5.2

7.0

5.4

8.6

การเงิน

6.1

6.1

6.2

5.9

6.2

5.8

6.7

4.8

4.6

5.1

GDP

3.2

3.4

3.1

3.1

3.6

3.2

3.0

3.5

3.3

3.7

GDP_SA (QoQ)

-

-

-

1.0

0.9

0.5

0.5

-

1.3

1.3

ที่มา: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

ตารางที่ 2 ด้านการใช้จ่าย

หน่วย: ร้อยละ

2559

2560

ทั้งปี

ครึ่งปีแรก

ครึ่งปีหลัง

Q1

Q2

Q3

Q4

ครึ่งปีแรก

Q1

Q2

การบริโภคภาคเอกชน

3.1

3.4

2.7

2.8

4.0

3.0

2.5

3.1

3.2

3.0

การใช้จ่ายรัฐบาล

1.7

5.6

-1.8

9.1

2.4

-5.2

1.8

1.5

0.3

2.7

การลงทุน

2.8

4.2

1.4

5.0

3.5

1.0

1.8

1.0

1.7

0.4

ภาคเอกชน

0.4

1.4

-0.6

2.4

0.3

-0.8

-0.4

1.0

-1.1

3.2

ภาครัฐ

9.9

12.9

7.1

12.9

12.8

5.8

8.6

1.1

9.7

-7.0

การส่งออก

2.1

2.9

1.3

4.8

1.0

1.4

1.1

4.3

2.7

6.0

สินค้า

0.0

-0.5

0.5

0.8

-1.9

-0.4

1.4

3.8

2.6

5.2

บริการ

9.3

15.1

3.9

18.1

11.6

7.7

0.4

5.8

3.2

8.8

การนำเข้า

-1.4

-3.9

1.1

-5.2

-2.5

-1.1

3.4

7.1

6.1

8.2

สินค้า

-2.1

-5.2

1.1

-7.6

-2.8

-1.5

3.6

8.3

7.3

9.1

บริการ

1.7

2.1

1.3

5.7

-1.3

0.5

2.0

2.6

1.1

4.0

GDP

3.2

3.4

3.1

3.1

3.6

3.2

3.0

3.5

3.3

3.7

ที่มา: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ


สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 962 ถนนกรุงเกษม แขวงวัดโสมนัส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพฯ 10100
โทรศัพท์ : 02-2804085 (40 คู่สาย) แฟกซ์ : 0-2281-3938 E-mail : pr@nesdc.go.th , webmaster@nesdc.go.th
นโยบายเว็บไซต์ | นโยบายข้อมูลส่วนบุคคล | นโยบายการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของเว็บไซต์