|
โครงการวางและจัดทำผังเมืองเฉพาะ
พื้นที่บริเวณโดยรอบท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
(และปัจจัยที่เกี่ยวเนื่องกับท่าอากาศยานกรุงเทพ (ดอนเมือง)
และท่าอากาศยานอู่ตะเภา)
|
กรมโยธาธิการและผังเมือง
|
|
หลักการและเหตุผล
|
กรมโยธาธิการและผังเมือง ตระหนักถึงความสำคัญของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิที่จะส่งผลกระทบต่อการใช้ประโยชน์ที่ดินและสภาพแวดล้อมของพื้นที่โดยรอบ ทั้งเป็นภารกิจหลักของกรมฯ ที่จะวางแผนการบริหารจัดการเมืองให้เกิดการพัฒนาอย่างสมดุลในทุก ๆ ด้าน จึงจำเป็นต้องเร่งดำเนินการวางและจัดทำผังเมืองเฉพาะพื้นที่บริเวณโดยรอบท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เพื่อให้เกิดการพัฒนาพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ เพียงพอต่อความต้องการของภาครัฐและเอกชน รวมทั้งสนับสนุนการพัฒนาการใช้ประโยชน์ที่ดินที่มีความสอดคล้องเชื่อมโยงกับท่าอากาศยาน เสริมสร้างเอกลักษณ์ไทยของพื้นที่ชุมชน และสถาปัตยกรรมเพื่อต้อนรับและสร้างความประทับใจแก่ผู้มาเยือน โดยยังคงสภาวะแวดล้อมที่ยั่งยืน
|
วัตถุประสงค์ของโครงการ
|
เพื่อให้การดำเนินงานวางและจัดทำผังเมืองเฉพาะ เกิดผลดีต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชน สามารถนำไปใช้เป็นกรอบการดำเนินงานวางแผนจัดทำโครงการและดำเนินการในรายละเอียดเพื่อพัฒนาพื้นที่ต่อไป จึงกำหนดวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้
|
1) เพื่อศึกษา วิเคราะห์ ข้อมูลทางกายภาพ เศรษฐกิจ สังคมและประชากร ตลอดจนปัญหาและบทบาทของพื้นที่ และความต้องการของประชาชน เพื่อประโยชน์ในการวางแผนพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
|
2) เพื่อให้ได้ผังพัฒนาทางด้านกายภาพที่ลงรายละเอียดโครงการพัฒนาในแต่ละย่าน และสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม
|
3) เพื่อให้ได้ผังการใช้ที่ดินและอาคารในอนาคตซึ่งมีมาตรฐานและมาตรการทางผังเมืองที่ส่งเสริม การพัฒนา
|
4) เพื่อให้ได้แผนปฏิบัติการ (Action Plan) สำหรับใช้เป็นมาตรฐานการปรับปรุงพื้นที่เฉพาะของโครงการ โดยเน้นรายละเอียดรูปแบบ แนวทางและมาตรการต่าง ๆ ในการดำเนินการบริหารจัดการ การพัฒนาปรับปรุงฟื้นฟูเมือง การอนุรักษ์ และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
|
5) เพื่อวางแผนโครงการคมนาคมและขนส่งที่ครบวงจร เช่น จัดให้มีถนนสายรอง สายย่อยที่เป็นโครงข่ายเชื่อมต่อกับถนนสายหลัก ระบบขนส่งมวลชน ที่จอดรถ (Park & Ride) และอื่น ๆ เป็นต้น |
6) เพื่อวางผังสาธารณูปโภค และสาธารณูปการต่าง ๆ รวมถึงการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมและภูมิทัศน์เมือง เช่น สถานศึกษา สวนสาธารณะ ห้องสมุด การระบายน้ำ การป้องกันน้ำท่วม การบำบัดน้ำเสีย การจัดเก็บขยะ การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ถนนคนเดิน ลานส่งเสริมกิจกรรมสาธารณะ และอื่น ๆ เป็นต้น
|
7) เพื่อเป็นกรอบการจัดทำงบประมาณการพัฒนาพื้นที่ในด้านต่าง ๆ
|
8) เพื่อเป็นการเสนอกลยุทธ์ (Strategy) ที่จะส่งเสริมให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการพัฒนา
|
ผลการดำเนินงานของกรมโยธาธิการและผังเมือง
|
คณะรัฐมนตรี มีมติเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2545 ให้ความเห็นชอบตามข้อเสนอของคณะกรรมการบริหารการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (กทภ.) ครั้งที่ 2/2545 เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2545 ให้กรมโยธาธิการและผังเมือง มีหน้าที่รับผิดชอบดำเนินการวางและจัดทำผังเมืองเฉพาะพื้นที่บริเวณโดยรอบท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ซึ่งสามารถสรุปผลการดำเนินการที่ผ่านมาได้ดังนี้
|
1. การกำหนดมาตรการควบคุมการใช้ที่ดินบริเวณโดยรอบท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
|
คณะรัฐมนตรีได้มอบหมายให้กระทรวงมหาดไทย พิจารณามาตรการควบคุมการใช้ที่ดินบริเวณโดยรอบสนามบินสุวรรณภูมิ โดยเสนอให้ใช้กฎหมายควบคุมอาคารไปก่อนในระยะแรกระหว่างการวางและจัดทำผังเมืองเฉพาะ กรมโยธาธิการและผังเมืองได้จัดทำร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดบริเวณห้ามก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเปลี่ยนการใช้อาคารบางชนิดหรือบางประเภทไว้ 3 บริเวณ ในท้องที่บางส่วนของเขตลาดกระบัง เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร และอำเภอบางพลี กิ่งอำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ เพื่อกำหนดประเภท ชนิดอาคาร ที่จะห้ามก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอนหรือเคลื่อนย้าย บริเวณพื้นที่รอบสนามบินสุวรรณภูมิ และกำหนดแนวทางเพื่อห้ามก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน เคลื่อนย้ายและใช้หรือเปลี่ยนการใช้อาคารชนิดใดหรือประเภทใด ในบริเวณโดยรอบพื้นที่ที่จะดำเนินการก่อสร้างสนามบินสุวรรณภูมิตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร โดยเสนอคณะกรรมการพิจารณาร่างกฎหมายกระทรวงฯ และออกเป็นประกาศกระทรวงมหาดไทย ณ วันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2546 และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาฉบับประกาศทั่วไป เล่ม 120 ตอนพิเศษ 147 ง วันที่ 25 ธันวาคม 254 6
|
แผนที่แนบท้ายประกาศกระทรวงมหาดไทย |
|
|
|
|
|
2. การวางและจัดทำผังเมืองเฉพาะ
|
กรมโยธาธิการและผังเมือง ลงนามในสัญญาจ้างเลขที่ 15/2546 ลงวันที่ 30 กันยายน 2546 เพื่อ จัดจ้างกลุ่มบริษัทที่ปรึกษาดำเนินโครงการวางและจัดทำผังเมืองเฉพาะพื้นที่บริเวณโดยรอบท่าอากาศยานสุวรรณภูมิฯ ซึ่งได้แก่ บริษัท เอส.เจ.เอ ทรีดี จำกัด, บริษัท บีบีเอ็มที (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท โชติ จินดา มูเชล คอนซัลแตนท์ จำกัด โดยเริ่มดำเนินงานตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน 2546 และสิ้นสุดสัญญาจ้างในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2548 ระยะเวลาดำเนินการ 510 วัน ในวงเงินงบประมาณ 85,000,000 บาท
|
3.พื้นที่เพื่อการศึกษาและพื้นที่โครงการ
|
พื้นที่เพื่อการศึกษา ได้แก่ พื้นที่อิทธิพลโดยรอบพื้นที่โครงการ ซึ่งมีรัศมี 135 กิโลเมตร ครอบคลุมสนามบินอู่ตะเภาและพื้นที่รวม 19 จังหวัด โดยได้แบ่งพื้นที่ศึกษาออกเป็น 4 กลุ่มพื้นที่ ได้แก่
|
1) กลุ่มพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล รวม 6 จังหวัด คือ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร และนครปฐม
|
2) กลุ่มพื้นที่ภาคกลางตอนบน รวม 5 จังหวัด คือ พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี สระบุรี และลพบุรี
|
3) กลุ่มพื้นที่ภาคตะวันตก รวม 3 จังหวัด คือ สุพรรณบุรี ราชบุรี และเพชรบุรี
|
4) กลุ่มพื้นที่ภาคตะวันออก รวม 5 จังหวัด คือ นครนายก ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง
|
|
|
|
|
พื้นที่โครงการ ได้แก่ พื้นที่บริเวณโดยรอบท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เป็นพื้นที่ประมาณ 816 ตารางกิโลเมตร
|
|
|
|
|
4. การกำหนดแนวทางการปฏิบัติงานของที่ปรึกษา
|
กรมโยธาธิการและผังเมือง ได้กำหนดแนวทางการปฏิบัติงานของที่ปรึกษา เพื่อให้การดำเนินงานของโครงการ เป็นไปตามวัตถุประสงค์โดยที่ปรึกษาจะต้องดำเนินการดังนี้
|
1) รวบรวมข้อมูล เอกสารการศึกษา เอกสารการวิจัยต่างๆ
|
2) ศึกษาและประเมินผลการดำเนินการที่ผ่านมาของกรมโยธาธิการและผังเมือง และของหน่วยงานอื่นๆ ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่โครงการ
|
3) จัดเก็บข้อมูลในด้านต่างๆ พร้อมดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลดังกล่าว เพื่อการวางและจัดทำผังเมืองเฉพาะเต็มพื้นที่ 816 ตารางกิโลเมตร โดยมีรายละเอียดข้อมูลประกอบด้วย
|
ด้านการใช้ที่ดินและอาคาร
|
ด้านเศรษฐกิจและสังคม
|
|
ด้านสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ
|
ด้านระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ( GIS )
|
4) คาดประมาณความต้องการในอนาคต
|
5) กำหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของการพัฒนาพื้นที่โครงการ ระบบชุมชน การใช้ประโยชน์ที่ดินและอาคาร รูปแบบสถาปัตยกรรมและภูมิสถาปัตยกรรม การเชื่อมโยงระบบคมนาคมและขนส่ง การสาธารณูปโภคสาธารณูปการ ในการกำหนดปริมาณ ปริมาตร คุณภาพ เพื่อใช้ในการติดตามและประเมินผล
|
6) กำหนดแนวทางและการปฏิบัติเพื่อให้บรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์
|
7) กำหนดแนวคิดในการวางผัง รูปแบบสถาปัตยกรรมและภูมิสถาปัตยกรรม
|
8) จัดทำผังทางเลือกในการพัฒนาพื้นที่
|
9) จัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และนำเอาผลจากกระบวนการดังกล่าวมาประกอบในการดำเนินโครงการ
|
10) วางและจัดทำผังเมืองเฉพาะพื้นที่บริเวณโดยรอบกับท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ผลที่ได้รับจากการดำเนินโครงการ ( Output ) ได้แก่ แผนผังพร้อมข้อกำหนดด้านต่างๆ ของโครงการ ในมาตราส่วน 1 : 4,000 พร้อมทั้งมาตรการและวิธีการเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตาม พรบ. การผังเมือง พ.ศ. 2518
|
5. ความก้าวหน้าการดำเนินงาน
|
1) งานงวดที่ 1 รายงานการศึกษาขั้นต้น เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2546 คณะกรรมการกำกับการปฏิบัติงานฯ ได้พิจารณาเห็นชอบในการประชุมครั้งที่ 1/2546 เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2546 โดยรายงานฉบับดังกล่าว ประกอบด้วย
|
การกำหนดขั้นตอนแผนการดำเนินงาน
|
การรวบรวมข้อมูล เอกสารการศึกษา เอกสารการวิจัยต่างๆ
|
2) รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2547 คณะกรรมการกำกับการปฏิบัติงานฯ ได้พิจารณาเห็นชอบในการประชุมครั้งที่ 1/2547 เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2547 โดยรายงานฉบับดังกล่าว ประกอบด้วย
|
การปรับปรุงแนวคิดและวิธีการศึกษา
|
การประมวลผลข้อมูลที่จะนำมาใช้ในการวิเคราะห์ ปรับปรุงเอกสาร
|
การทบทวนผลงานที่ผ่านมาของกรมโยธาธิการและผังเมือง
|
การจัดทำระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
|
3) ประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของประชาชนในพื้นที่โครงการครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2547
|
4) รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2547 คณะกรรมการกำกับการปฏิบัติงานฯ ได้พิจารณาเห็นชอบในการประชุมครั้งที่ 2/2547 เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2547 โดยรายงานฉบับดังกล่าว ประกอบด้วย
|
การประมวลผลข้อมูลที่จะนำมาใช้ในการวิเคราะห์ ปรับปรุงเอกสาร
|
เตรียมความพร้อมของข้อมูลและทบทวนวิธีการวิเคราะห์
|
กระบวนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงสัมพันธ์กับบทบาทของท่าอากาศยาน
|
การคาดการณ์ความต้องการในอนาคต
|
5) รายงานการศึกษาฉบับกลาง เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2547 คณะกรรมการกำกับการปฏิบัติงานฯ ได้พิจารณาเห็นชอบในการประชุมครั้งที่ 3/2547 เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2547 โดยรายงานฉบับดังกล่าว ประกอบด้วย
|
การปรับปรุงผลการศึกษาและสรุปผลเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการวางและจัดทำผัง
|
การกำหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์โครงการ และแนวทางการปฏิบัติ
|
การจัดทำผังทางเลือกในการพัฒนาพื้นที่
|
6) ประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของประชาชนในพื้นที่โครงการครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 7 กันยายน 25476)
|
6. แผนการดำเนินงานขั้นต่อไป
|
1) จัดประชุมเพื่อรับฟังข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของประชาชนในพื้นที่โครงการ ครั้งที่ 3 ก่อนการส่งงานงวดที่ 3 ร่างรายงานการศึกษาฉบับสุดท้าย
|
2) จัดส่งงานงวดที่ 3 : ร่างรายงานการศึกษาฉบับสุดท้าย ในเดือนพฤศจิกายน 2547
|
3) จัดส่งงานงวดที่ 4 : รายงานการศึกษาฉบับสุดท้าย ในเดือนกุมภาพันธ์ 2548
|
7. วิสัยทัศน์และแนวความคิดในการพัฒนาพื้นที่โครงการ
|
กลุ่มบริษัทที่ปรึกษาเสนอแนวคิดที่จะให้ความสำคัญต่อธรรมชาติแวดล้อมของพื้นที่วางผังและพื้นที่เกี่ยวเนื่อง เพื่อชี้นำในการวางผังให้เห็นคุณค่าของธรรมชาติแวดล้อมในพื้นที่ราบลุ่มบริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยาที่มีคูคลอง หนอง บึง สานกันเป็นเครือข่ายเส้นทางน้ำที่หนาแน่น ทำหน้าที่เก็บกักน้ำและส่งผ่านน้ำหลากจากแผ่นดินตอนบนออกสู่ทะเลในอ่าวไทยนั้น สามารถจะพัฒนาให้เกิดประโยชน์อย่างยั่งยืนต่อการตั้งถิ่นฐานในพื้นที่โดยรอบท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและพื้นที่ที่เกี่ยวเนื่องได้ ดังนั้นวิสัยทัศน์ของโครงการจึงประกอบด้วย 2 วิสัยทัศน์หลัก คือ วิสัยทัศน์ทางด้านเศรษฐกิจการลงทุนแนวใหม่ และวิสัยทัศน์ทางด้านการฟื้นฟูกายภาพเดิม รวมกันเป็น
|
เมืองศูนย์กลางการบิน เมืองพัฒนาอย่างยั่งยืน |
|
1) วิสัยทัศน์ที่ 1 : เมืองศูนย์กลางการบิน
|
มีแนวความคิดในการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจและการลงทุนจะทำให้เมืองมีลักษณะเป็นเมืองศูนย์กลางการบินและการขนส่ง เพื่อที่จะทำให้มีเมืองดังกล่าวจะเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับพื้นที่ ซึ่งเมืองดังกล่าวจะต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้
|
เมืองสุวรรณภูมิเพื่อเชื่อมต่อและสนับสนุนการพัฒนาภาคมหานคร เมืองศูนย์กลางการบินและการขนส่ง
|
เมืองท่าอากาศยานและการท่องเที่ยว
|
|
|
|
2) วิสัยทัศน์ที่ 2 : เมืองพัฒนาอย่างยั่งยืน
|
มีแนวความคิดให้เกิดการพัฒนาตามธรรมชาติของพื้นที่ ซึ่งเอกลักษณ์ของพื้นที่บริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา คือ ลักษณะของที่ลุ่มที่มีโครงข่ายคูคลองที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและการขุดเสริมเพื่อเชื่อมโยงกับแม่น้ำ หนอง บึง ซึ่งจะถูกน้ำท่วมในฤดูน้ำหลาก ตามสมญานามของเมืองในอดีต คือ เวนิสตะวันออก ซึ่งองค์ประกอบของเมืองน้ำจะเป็นเมืองที่มีลักษณะ
|
เมืองอู่ข้าวอู่น้ำ
|
เมืองวัฒนธรรม ประเพณีพื้นถิ่นชุมชนริมน้ำ
|
เมืองที่มีสถาปัตยกรรมสะเทิ้นน้ำ สะเทิ้นบก
|
|
|
|
|
|
|
8. ประโยชน์ที่จะได้รับจากโครงการฯ
|
พื้นที่โครงการมีปัจจัยหลักในการส่งเสริมศักยภาพการพัฒนาพื้นที่คือ การเป็นที่ตั้งของท่าอากาศยานประจำชาติแห่งใหม่ (ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ) ดังนั้นจึงควรมีการวางแผนเพื่อรองรับการพัฒนาพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ
|
1) เป็นการชี้นำแนวทางการพัฒนาและการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างชัดเจน โดยมีวัตถุประสงค์ให้พื้นที่โครงการเป็นศูนย์กลางการขนส่งทางอากาศ, ศูนย์การธุรกิจ, ส่งเสริมการท่องเที่ยว, กำหนดแนวทางการขยายตัวของชุมชนอย่างเป็นระบบ และเสริมสร้างเอกลักษณ์ไทยให้แก่พื้นที่ ทั้งนี้จะมีการกำหนดขนาดการพัฒนาที่เหมาะสม ซึ่งจะส่งเสริมการพัฒนาด้านเศรษฐกิจได้อย่างสมดุล และป้องกันที่จะส่งผลกระทบต่อโครงการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและพื้นที่บริเวณโดนรอบได้อย่างเป็นระบบ
|
2) เป็นการชี้นำแนวทางการพัฒนาด้านสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ โดยดำเนินการวางแผนการพัฒนาระบบการคมนาคมขนส่งและระบบสาธารณูปโภค-สาธารณูปการด้านอื่นๆ ให้มีประสิทธิภาพและส่งเสริมการพัฒนาในการใช้ที่ดิน ได้อย่างเป็นรูปธรรม
|
3) เป็นการชี้นำแนวทางการพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม โดยการกำหนดพื้นที่บริเวณที่จะทำการอนุรักษ์และรักษาไว้ การกำหนดพื้นที่เกษตรกรรม การกำหนดพื้นที่น้ำหลากและการแก้ปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ โดยการจัดระบบการระบายน้ำ สร้างความชัดเจนในการใช้ประโยชน์ที่ดิน
|
4) การวางแผนปฏิบัติการ (Action Plan) สำหรับใช้เป็นมาตรฐานการปรับปรุงพื้นที่เฉพาะของโครงการ โดยเน้นรายละเอียดรูปแบบ แนวทางและมาตรการต่าง ๆ ในการดำเนินการบริหารจัดการ การพัฒนาปรับปรุงฟื้นฟูเมือง การอนุรักษ์ การเป็นพื้นที่เกษตรกรรม การแก้ปัญหาน้ำท่วม
|
|
|
|
- รายละเอียดการนำเสนอด้วย PowerPoint
|
|