|
รศช.
กิติศักดิ์ฯ
สศช.
เยี่ยมชมสนามบินสุวรรณภูมิ
|
|
|
|
สกภ. - 16 เม.ย. 2547 :
"ผมเคยไปดูพื้นที่บริเวณก่อสร้างสนามบินสุวรรณภูมิ เมื่อประมาณ
10 กว่าปีมาแล้ว ตอนนั้นไปดูระบบป้องกันน้ำท่วม กทม. และปริมณฑล
เห็นแต่น้ำกับต้นหญ้าสองข้างคลอง ปัจจุบันนึกไม่ออกจริงๆ ว่า
พื้นที่บริเวณดังกล่าวหลังจากมีโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ คือ
สนามบินสุวรรณภูมิแล้ว จะมีสภาพเปลี่ยนแปลงเพียงใด
และการพัฒนาดังกล่าว จะส่งผลต่อจังหวัดสมุทรปราการอย่างไรบ้าง"
|
จากคำกล่าวข้างต้นของ รองเลขาธิการ
สศช. กิติศักดิ์ สินธุวนิช
จึงเป็นที่มาของการไปเยียมชมสนามบินสุวรรณภูมิ เมื่อวันศุกร์ที่ 16
เม.ย. 2547 โดยคณะของเรา ซึ่งประกอบด้วย ท่านรองฯ คุณวีระ ศรีธรานนท์
(ศูนย์ำพัฒนาภาคกลาง) คุณวิชัย เกตตะพันธุ์
(สำนักงานคณะกรรมการบริหารการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ)
พร้อมเจ้าหน้าที่ รวมทั้งหมด 7 คน ได้ออกเดินทางในช่วงบ่ายๆ
ขึ้นทางด่วนที่ด่านยมราช ผ่านถนนศรีนครินทร์ เข้าสู่ถนน มอเตอร์เวย์
(กำลังปรับปรุงเป็น 8 ช่องจราจร) ผ่านถนนกิ่งแก้ว ถนนบางนา-ตราด
แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าถนนทางด้านใต้ ของสนามบินสุวรรณภูมิ
โดยใช้เวลาเดินทางจาก สศช. ประมาณ 40 นาที
คณะของเราก็เดินทางถึงพื้นที่โครงการก่อสร้างสนามบินสุวรรณภูมิ |
คณะของเราเริ่มดูงานจุดแรกที่อาคาร
3 ของ บริษัท
ท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งใหม่ จำกัด (บทม.)
ซึ่งได้แสดงรูปแบบจำลองของสนามบินสุวรรณภูมิ พร้อมทั้งรปแบบจำลองพื้นที่ต่อเนื่อง
ระหว่างสนามบินดอนเมืองและสนามบินสุวรรณภูมิ โดยมีวิศวกรของ บทม.
ได้อธิบายเพิ่มเติมในรายละเอียด
เพื่อเป็นการปูพื้นให้เกิดความเข้าใจภาพรวม
ของการพัฒนาสนามบินสุวรรณภูมิ
และความต่อเนื่องของพื้นที่ก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่
ตลอดจนตำแหน่งที่ตั้งของโครงการที่สำคัญๆ
เสียก่อน |
|
หลังจากนั้น เจ้าหน้าที่ บทม.
ได้้นำเยียมชมพื้นที่รอบๆ อาคารผู้โดยสาร และอาคารเทียบเครื่องบิน
ซึ่งเป็นงานก่อสร้างหลักของโครงการนี้ |
|
สำหรับการก่อสร้างอาคารผู้โดยสารนั้น เป็นอาคาร กว้าง 111
เมตร ยาว 444 เมตร สูง 42.85 เมตรได้รับการออกแบบให้สวยงาม ทันสมัย
โครงสร้างหลักเป็นเหล็กและกระจก พร้อมอุปกรณ์อำนวยความสะดวกต่างๆ
โดยมีพื้นที่ใช้สอย รวมทั้งสิ้นประมาณ 182,000 ตารางเมตร ได้ติดตั้ง
Supper Truss และ Secondary Truss แล้วเสร็จ การติดตั้ง Skylight
ก้าวหน้าไปร้อยละ 80 Trellis Roof คืบหน้าร้อยละ 12
ความคืบหน้าของการก่อสร้างโดยรวม ร้อยละ 57.6 จากแผน
ที่กำหนดไว้ว่าจะก้าวหน้าร้อยละ 57.8
โครงการนี้ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 15,080.33 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการ
1,096 วัน (ธันวาคม 2544 - 1 มิถุนายน 2548)
|
|
ส่วนการก่อสร้างอาคารเทียบเครื่องบินนั้น
เป็นอาคารที่มีขนาดกว้าง 40.25 เมตร ยาว 3,213 เมตร สูง 25 เมตร
รวมพื้นที่ใช้สอยประมาณ 381,000 ตารางเมตร โครงสร้างหลักเป็นเหล็ก
หลังคาเป็นกระจกสลับกับผ้าใบเคลือบเทปล่อน
ปัจจุบันมีความก้าวหน้าของการก่อสร้างโดยรวม ร้อยละ 40
จากเป้าหมายร้อยละ 38 โดยการติดตั้ง 5 pin truss
มีความก้าวหน้าร้อยละ 69
งานโครงสร้างคอนกรีตของอาคารมีความก้าวหน้าร้อยละ 60 ส่วนงานสถาปัตย์
(ผนังบล็อก) มีความก้าวหน้าร้อยละ 4 โครงการนี้ใช้งบประมาณทั้งสิ้น
21,571.53 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการ 1,096 วัน (ธันวาคม 2544 -
พฤศจิกายน 2547) |
|
เนื่องจากพื้นที่โครงการฯ
มีขนาดใหญ่ กว้างขวาง ถึง 2 หมื่นไร่
ไม่สามารถแวะเยี่ยมชมทุกโครงการฯ ได้ จึงเป็นเพียงแวะผ่านเท่านั้น
อาทิ ระบบป้องกันน้ำท่วม บริเวณที่พักคนงาน
ทางวิ่ง-ทางขับ-ลานจอดอากาศยาน ศูนย์อุตุนิยมวิทยา
ทางเข้าสนามบินด้านเหนือ เป็นต้น |
|
จากนั้นจึงได้เดินทางกลับ โดยผ่านไปทางด้านพื้นที่เขตลาดกระบัง
เข้าสู่ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 (มอเตอร์เวย์) และถึงสภาพัฒน์ฯ
เวลาประมาณ 16.40 น. |
|
|
|
|