ผลการประชุม
ครม. |
(11
พฤศจิกายน 2546) < คัดเฉพาะ เรื่อง คณะกรรมการบริหารการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (กทภ.) > |
วันที่ 11 พฤศจิกายน 2546 เวลา เมื่อเวลา 08.30 น. ที่ห้องประชุม ชั้น 2 ตึกสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีหลังใหม่ พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี | ||||
นางสาวศันสนีย์ นาคพงศ์ และนายชัชวาลย์ ชมภูแดง รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้ร่วมกันแถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี ณ ศูนย์แถลงข่าวรัฐบาล ตึกนารีสโมสร ทำเนียบรัฐบาล สรุปสาระสำคัญ ได้ดังนี้ (คัดเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ คณะกรรมการบริหารการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (กทภ.) | ||||
32. | เรื่อง มติคณะกรรมการบริหารการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ครั้งที่ กทภ. 4/2546 (15 ตุลาคม 2546) | |||
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบมติคณะกรรมการ กทภ. 6 เรื่อง ตามที่คณะกรรมการบริหารการพัฒนา ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (กทภ.) เสนอ ดังนี้ | ||||
1. |
การเพิ่มพื้นที่เพื่อการพาณิชย์ในอาคารผู้โดยสารท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ | |||
เห็นชอบให้บริษัท ท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งใหม่ จำกัด (บทม.) ดำเนินการก่อสร้างพื้นที่เพิ่มเติมและปรับปรุงพื้นที่เดิมในอาคารผู้โดยสารท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เพื่อใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ ในวงเงินรวม 247 ล้านบาท โดยใช้เงินลงทุนจากเงินกู้ Japan Bank for International Cooperation (JBIC) | ||||
2. |
การขยายทางวิ่งตะวันออกจาก 3,700 เมตร เป็น 4,000 เมตร พร้อมค่าควบคุมงานก่อสร้าง และการเพิ่มความแข็งแรง Stopway ทางวิ่งตะวันตก | |||
เห็นชอบให้บริษัท ท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งใหม่ จำกัด (บทม.) ดำเนินการขยายทางวิ่งตะวันออกจากความยาว 3,700 เมตร เป็น 4,000 เมตร และปรับปรุงพื้นผิว Stopway ทางวิ่งตะวันตก ในวงเงินรวม 272 ล้านบาท ซึ่งวงเงินดังกล่าวได้รวมค่าควบคุมงานก่อสร้างปรับปรุงคุณภาพดินสำหรับการขยายทางวิ่งตะวันออก จำนวน 5.6 ล้านบาท ที่ บทม. จะใช้ในปีงบประมาณ 2547 ไว้ด้วยแล้ว | ||||
3. |
การเพิ่มระบบตรวจสอบ อุปกรณ์ และงานสาธารณูปโภค สำหรับท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเพื่อรองรับผู้โดยสาร 45 ล้านคนต่อปี | |||
เห็นชอบให้บริษัท ท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งใหม่ จำกัด (บทม.) ดำเนินการปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกภายในอาคารผู้โดยสารเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการแก่ผู้โดยสารในระดับ 45 ล้านคนต่อปี และเพิ่มประสิทธิภาพระบบรักษาความปลอดภัยในการตรวจกระเป๋าและสัมภาระของผู้โดยสาร ในวงเงินรวม 6,155 ล้านบาท ประกอบด้วย การเพิ่มสิ่งอำนวยความสะดวกของผู้โดยสารภายในอาคาร จำนวน 1,280 ล้านบาท ระบบการตรวจสอบกระเป๋าและสัมภาระของผู้โดยสาร จำนวน 4,500 ล้านบาท ระบบจ่ายน้ำประปา จำนวน 70 ล้านบาท ระบบงานจ่ายไฟฟ้าและท่อร้อยสาย จำนวน 125 ล้านบาท และระบบงานบำบัดน้ำเสียจำนวน 180 ล้านบาท ทั้งนี้ให้ บทม. ดำเนินการจัดหาระบบเพื่อตรวจสอบกระเป๋าและสัมภาระของผู้โดยสารที่เป็นเทคโนโลยีล่าสุด พร้อมทั้งมีเงื่อนไขในการปรับปรุงซอฟต์แวร์ของระบบให้ทันสมัยอยู่เสมอ รวมทั้งการบำรุงรักษาตามปกติไว้ด้วย | ||||
4. |
โครงการก่อสร้างอุโมงค์จากอาคารผู้โดยสารด้านเหนือเชื่อมอาคารเทียบเครื่องบินรอง (Satellite) ตามแผนแม่บทการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ | |||
เห็นชอบในหลักการให้บริษัท ท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งใหม่ จำกัด (บทม.) ก่อสร้างอุโมงค์ใต้ดินจากอาคารผู้โดยสารด้านเหนือเชื่อมอาคารเทียบเครื่องบินรอง (Satellite)โดยคำนึงถึงความจำเป็นในอนาคตหากจะต้องก่อสร้างอุโมงค์รถไฟใต้ดินสายพญาไท-มักกะสัน-สนามบินสุวรรณภูมิ เชื่อมกับอาคารผู้โดยสารด้านใต้ตามแผนแม่บทไว้ด้วย สำหรับวิธีจ้างเหมาให้ใช้วิธีออกแบบพร้อมก่อสร้าง (Design-built) ในวงเงินไม่เกิน 4,013 ล้านบาท และขอให้ บทม. จัดทำข้อกำหนดที่ต้องการรายละเอียดของงาน ปริมาณงาน และหลักเกณฑ์วิธีประเมินราคาค่าจ้างแต่ละงานไว้ให้สมบูรณ์และชัดเจนตั้งแต่แรก โดยต้องเป็นไปตามเกณฑ์เช่นเดียวกับที่หน่วยงานของรัฐหรือระดับสากลใช้ปฏิบัติกันอยู่ในโครงการอื่นเพื่อให้เกิดความโปร่งใส | ||||
5. |
การก่อสร้างขยายความยาวอุโมงค์รถไฟใต้ดินภายในสนามบินของทางรถไฟสายพญาไท-มักกะสัน-สนามบินสุวรรณภูมิ | |||
1) |
เห็นชอบในหลักการให้บริษัท ท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งใหม่ จำกัด (บทม.) ก่อสร้างอุโมงค์รถไฟใต้ดินต่อจากจุดสิ้นสุดโครงการรถไฟใต้ดินที่ บทม. กำลังดำเนินการอยู่ไปทางทิศเหนือจนถึงระดับพื้นดินเป็นระยะทางประมาณ 1,000 เมตร โดยวิธีออกแบบพร้อมก่อสร้าง (Design-Built) ในวงเงินไม่เกิน 3,513 ล้านบาท แล้วให้ บทม. เรียกเก็บเงินค่าลงทุนก่อสร้างอุโมงค์รถไฟใต้ดินคืนจากบริษัทเอกชนที่จะเป็นผู้ร่วมลงทุนในโครงการทางรถไฟสายดังกล่าวในภายหลังต่อไป | |||
2) |
เห็นชอบในหลักการให้ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ใช้เงินงบประมาณที่ รฟท. ได้รับไว้แล้วในโครงการทางรถไฟเข้าสนามบินสุวรรณภูมิ ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาเพื่อออกแบบรายละเอียดทางวิศวกรรมของโครงการทางรถไฟสายพญาไท-มักกะสัน-สนามบินสุวรรณภูมิ ต่อไป | |||
6. |
การทำข้อตกลงเพื่อเร่งรัดงานก่อสร้างที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิสำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง | |||
ที่ประชุมเห็นชอบตามข้อเสนอของคณะกรรมการเร่งรัดการดำเนินงานก่อสร้างท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ในการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิลงนามข้อตกลงกับบริษัทท่าอากาศยานสากลกรุงเทพ แห่งใหม่ จำกัด (บทม.) เพื่อผูกพันว่าจะสามารถเร่งรัดงานก่อสร้างในส่วนที่หน่วยงานรับผิดชอบให้แล้วเสร็จ สอดคล้องตามกำหนดเวลาของ บทม. ในแผนดำเนินงานก่อสร้างท่าอากาศยานที่ปรับใหม่ (Revised Master Program) กับบริษัทผู้รับเหมาก่อสร้าง เพื่อให้ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเปิดให้บริการได้ในวันที่ 29 กันยายน 2548 | ||||
นอกจากนั้นคณะรัฐมนตรี ยังได้พิจารณาและมีมติเกี่ยวกับเรื่อง ยกเว้นไม่ต้องนำคำสั่ง กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีใช้บังคับกับรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานทั่วไปมาบังคับใช้กับบริษัทร่วมทุนที่จัดตั้งขึ้นเพื่อดำเนินโครงการโรงแรมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิของบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) สรุปสาระสำคัญ ได้ดังนี้ | ||||
16. |
เรื่อง ยกเว้นไม่ต้องนำคำสั่ง กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีใช้บังคับกับรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานทั่วไปมาบังคับใช้กับบริษัทร่วมทุนที่จัดตั้งขึ้นเพื่อดำเนินโครงการโรงแรมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิของบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) | |||
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ ให้บริษัทร่วมทุนที่จะจัดตั้งขึ้นเพื่อดำเนินโครงการโรงแรมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ของบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำคำสั่ง กฎ ระเบียบ และมติคณะรัฐมนตรี ที่ใช้บังคับกับรัฐวิสาหกิจทั่วไป แต่ไม่รวมถึงในเรื่อง ดังนี้ | ||||
1) |
ระเบียบการก่อหนี้ของประเทศ พ.ศ. 2528 | |||
2) |
ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการตรวจสอบภายในของรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2538 และที่จะแก้ไขเพิ่มเติม | |||
3)
|
การให้มีผู้แทนกระทรวงการคลัง ซึ่งเป็นข้าราชการประจำร่วมเป็นกรรมการในคณะกรรมการบริษัทฯ | |||
ทั้งนี้ กระทรวงคมนาคมเสนอว่า เนื่องมาจากบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) และธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) มีความเห็นร่วมกันเกี่ยวกับมติคณะรัฐมนตรีที่ให้บริษัทร่วมทุนที่จะจัดตั้งขึ้นเพื่อดำเนินการโครงการโรงแรม ท่าอากาศยานดำเนินการยกร่างระเบียบต่างๆ เป็นการเฉพาะของบริษัทร่วมทุนเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไปนั้น จะเป็นข้อจำกัดต่อการดำเนินธุรกิจโรงแรม ซึ่งมีสภาวะตลาดในการแข่งขันสูง และต้องการความคล่องตัวในการบริหารจัดการประกอบกับโครงการโรงแรมท่าอากาศยานเป็นงานที่จะต้องเร่งดำเนินการเพื่อให้การก่อสร้างแล้วเสร็จทันตามกำหนดเปิดใช้งานท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ดังนั้น การบริหารงานโครงการโรงแรมท่าอากาศยานให้มีประสิทธิภาพ จึงจำเป็นต้องได้รับการยกเว้นกฎ ระเบียบต่างๆ ซึ่งกระทรวงคมนาคมพิจารณาแล้วเห็นชอบตามที่บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) เสนอ | ||||
กรุณาตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการกับสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่ง
โทรศัพท์. 02-2809000 ต่อ 332 |