|
|
|
แผนพัฒนาการขนส่งทางอากาศ
ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ฉบับที่ 1 ถึง 8
|
|
|
|
แผนพัฒนาการขนส่งทางอากาศในแผนฯ
1 (พ.ศ. 2504-2509) แผน 6 ปี
|
|
การคมนาคมและขนส่งมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อเศรษฐกิจของประเทศ
หากปราศจากการคมนาคมและการขนส่งที่ดีแล้ว การพัฒนาเศรษฐกิจด้านอื่นๆ ก็ไม่อาจดำเนินไปได้โดยสมบูรณ์
ฉะนั้นเพื่อที่จะให้การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศดำเนินไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพสมความมุ่งหมายของรัฐบาล
การพัฒนาด้านคมนาคมและการขนส่งจึงมีอันดับความสำคัญสูงมากในแผนพัฒนา
|
|
แผนพัฒนาการเศรษฐกิจ 6
ปี ได้กำหนดโครงการพัฒนาการคมนาคมและขนส่งไว้หลายโครงการ การดำเนินงานตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจในระยะ
3 ปีแรก (พ.ศ. 2504-2506) นั้น ได้มุ่งหนักไปในด้านบูรณะและปรับปรุงบริการที่มีอยู่เดิมให้มีมาตรฐานสูงขึ้น
ส่วนการสร้างและขยายบริการใหม่นั้นได้ทำไปไม่มากนักใน ระยะที่ 2 (พ.ศ.
2507-2509) นี้ จะดำเนินงานตามโครงการเดิมซึ่งยังไม่เสร็จบริบูรณ์และจะขยายและปรับปรุงการขนส่งและคมนาคมทุกประเภทให้มีมาตรฐานและสมรรถภาพยิ่งขึ้น
|
|
1. นโยบายการขนส่งทางอากาศ
|
|
นโยบายพัฒนาการบินพาณิชย์ระหว่างประเทศได้แก่การดำเนินการบูรณะและก่อสร้างท่าอากาศยานพาณิชย์ระหว่างประเทศให้ทันสมัยและปรับปรุงบริการสื่อสารและการควบคุมการจราจรทางอากาศให้มีสมรรถภาพสูงยิ่งขึ้น
ในฐานะที่กรุงเทพฯ เป็นศูนย์กลางของสายการบินในภาคตะวันออกไกล ส่วนที่เกี่ยวกับการขนส่งทางอากาศภายในประเทศเป็นการดำเนินงานปรับปรุงบริการและท่าอากาศยานพาณิชย์ในจังหวัดต่างๆ
เพื่อสามารถใช้การได้ดีทุกฤดูกาล
|
|
2. เป้าหมายการขนส่งทางอากาศ
|
|
คาดว่าการปรับปรุงทางวิ่งสายตะวันออกที่สนามบินดอนเมืองจะแล้วเสร็จในปี
2507 ส่วนงานพัฒนาสนามบินในต่างจังหวัดจะก่อสร้างทางวิ่งเพิ่มขึ้นอีก 3
แห่ง และก่อสร้างสนามบินใหม่แทนสนามบินเก่าที่จังหวัดสงขลา โครงการปรับปรุงโรงซ่อมเครื่องบินซึ่งเริ่มมาตั้งแต่ปี2505
นั้น จะได้ปรับปรุงการดำเนินงานให้มีแรงงานผลิตเพิ่มขึ้น 3 เท่า ภายในปี
2509 บริษัทเดินอากาศไทยจะซื้อเครื่องบินแบบแอวโร 74 ขนาด 40 ที่นั่งจำนวน
3 เครื่อง ส่วนการสำรวจที่ตั้งท่าอากาศยานพาณิชย์แห่งที่สองคงจะแล้วเสร็จในปี
2507
|
|
คาดว่าจำนวนกิโลเมตรผู้โดยสารจะเพิ่มในอัตราเฉลี่ยร้อยละ
15 พัสดุบรรทุกตันกิโลเมตรจะเพิ่มในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 6 ต่อปี ในปี พ.ศ.
2509 อัตราดังกล่าวจะเพิ่มถึงปีละร้อยละ 20 และร้อยละ 7 ตามลำดับ
|
|
3. โครงการการขนส่งทางอากาศ
|
|
3.1 โครงการปรับปรุงวิทยุเดินอากาศ
เป็นโครงการที่มีวัตถุประสงค์ในการปรับปรุงระบบสื่อสารการเดินอากาศ และระบบการควบคุมจราจรทางอากาศของประเทศให้มีประสิทธิภาพสูง
การดำเนินงานตามโครงการนี้ประกอบด้วย การจัดตั้งสถานีวิทยุช่วยการเดินอากาศ
การจัดตั้งศูนย์กลางสื่อสารสำหรับภายในและต่างประเทศ การเปิดระบบสื่อสารโทรพิมพ์ระหว่างพระนครและสถานีศูนย์กลางสื่อสารต่างจังหวัด
การจัดตั้งสถานีวิทยุการบิน ณ สนามบินพาณิชย์ในประเทศต่างๆ การจัดตั้งหน่วยทดสอบเครื่องช่วยการเดินอากาศ
|
|
3.2 โครงการสำรวจและก่อสร้างสนามบินพาณิชย์แห่งที่สอง
เนื่องจากท่าอากาศยานพาณิชย์ระหว่างประเทศที่ดอนเมืองในปัจจุบันกำลังเริ่มประสบความคับคั่ง
มีเครื่องบินพาณิชย์ขึ้นลงเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก และยังใช้เป็นสนามบินทหารอีกด้วย
นอกจากปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับการใช้สนามบินเดียวกันแล้วในระยะเวลาอันใกล้ในอนาคต
ดอนเมืองอาจไม่เหมาะสมสำหรับเป็นท่าอากาศยานพาณิชย์ระหว่างประเทศ และต้องสร้างท่าอากาศยานพาณิชย์ขึ้นใหม่เพื่อเป็นศูนย์กลางของสายการบินทางเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ต่อไป
ฉะนั้นในระยะของแผนพัฒนาจะทำการสำรวจที่ตั้งสนามบินพาณิชย์แห่งที่สอง ต่อจากที่ได้ดำเนินการไปบ้างแล้วในปี
2506 รวมทั้งสถานะของท่าอากาศยานดอนเมืองในอนาค
|
|
3.3 โครงการปรับปรุงทางวิ่งสายตะวันออก
โครงการนี้ดำเนินไปเพื่อปรับปรุงทางวิ่งสายตะวันออกซึ่งในปัจจุบันชำรุดใช้การไม่ได้ให้มีผิวคอนกรีตและให้สามารถรับน้ำหนักบรรทุกได้
75,000 ปอนด์ต่อหนึ่งล้อ เพื่อบรรเทาความคับคั่งของการจราจรทางอากาศที่สนามบินดอนเมืองเป็นการชั่วคราว
คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2508
|
|
แผนพัฒนาการขนส่งทางอากาศในแผนฯ
2 (พ.ศ. 2510-2514)
|
|
1. นโยบายและแนวทางพัฒนาการขนส่งทางอากาศ
|
|
เพื่อที่จะจัดให้มีระบบคมนาคมและการขนส่งของประเทศ
มีสมรรถภาพสูงขึ้นสำหรับเป็นฐานในการที่จะช่วยให้การพัฒนาเศรษฐกิจส่วนรวมของประเทศได้ดำเนินไปด้วยดี
รัฐจะดำิเนินการตามนโยบายพัฒนาดังต่อไปนี้ |
|
1.1 ปรับปรุงบริการขนส่งทางอากาศภายในประเทศให้มีสมรรถภาพสูงและเพียงพอแก่ความต้องการ
นอกจากนี้จะสนับสนุนให้มีการอำนวยบริการขนส่งแก่ท้องถิ่นต่างๆ ภายในประเทศ
ซึ่งติดต่อด้วยเส้นทางคมนาคมทางบกหรือทางน้ำไม่ได้โดยสะดวก ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับระบบการขนส่งอื่นๆ
ของประเทศ
|
|
1.2 ในด้านการเดินอากาศระหว่างประเทศ
มีนโยบายที่จะรักษาความเป็นศูนย์กลางของการบินระหว่างประเทศไว้ โดยดำรงไว้ซึ่งบริการด้านสนามบินและบริการควบคุมการจราจรทางอากาศให้อยู่ในมาตรฐานสูง
|
|
2. โครงการขนส่งทางอากาศ
|
|
2.1 โครงการพัฒนาสนามบินต่างจังหวัด
ปรับปรุงสนามบินพาณิชย์ในประเทศให้มีพื้นผิวคอนกรีตหรืออัสฟัลท์ มีลักษณะถูกต้องตามมาตรฐานสากลและอยู่ในสภาพที่ใช้การได้ตลอดทุก
ฤดูกาล โครงการนี้ได้เริ่มขึ้นในระหว่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับแรก โดยได้ทำการก่อสร้างสนามบินเชียงใหม่
อุบลราชธานี อุดรธานี พิษณุโลก ลำปางและเชียงราย ให้ใช้การได้ตลอดทุกฤดูกาลและถูกต้องตามมาตรฐานสากลทำการปรับปรุงสนามบินภูเก็ต
ปัตตานีและหัวหินให้มีพื้นผิวอัสฟัลท์ เริ่มงานก่อสร้างสนามบินหาดใหญ่เพื่อใช้แทนสนามบินที่สงขลา
และทำการสำรวจออกแบบ
สนามบินแม่สะเรียง แม่สอด และแม่ฮ่องสอนด้วย ในระหว่างปี พ.ศ. 2510-2514
จะได้ดำเนินงานก่อสร้างสนามบินหาดใหญ่ต่อจากที่ได้ดำเนินการไปแล้วจนแล้วเสร็จ
ก่อสร้างสนามบินแม่สอด ขอนแก่น ตรัง นครพนม แม่ฮ่องสอนและแม่สะเรียง ให้มีพื้นผิวอัสฟัลท์ถูกต้องตามมาตรฐานสากล
ต่อทางวิ่งสนามบินปัตตานีให้ได้มาตรฐานและสร้างที่พักผู้โดยสารและหอบังคับการบินขึ้นอีก
4 แห่ง
|
|
2.2 โครงการวิทยุการเดินอากาศ
ปรับปรุงระบบการสื่อสารและการควบคุมการจราจรทางอากาศของประเทศไทยให้มีประสิทธิภาพสูงและมีคุณภาพทัดเทียมกับมาตรฐานสากล
โครงการนี้ได้เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2504 โดยได้ติดตั้งเครื่องรับส่งวิทยุเพื่อการสื่อสารและการควบคุมจราจรทางอากาศรวม
7 แห่ง จัดตั้งสถานีวิทยุการบินบางปิ้ง บางปลา และสร้างศูนย์โทรคมนาคมที่
ทุ่งมหาเมฆ นอกจากนี้ได้จัดสร้างระบบการลงจอดโดยใช้เครื่องมือที่ดอนเมืองและรังสิต
เพื่อให้เครื่องบินลงสู่สนามได้สะดวกขึ้นในระยะของแผนจะได้ดำเนินการติดตั้งเครื่องอุปกรณ์สำหรับทางวิ่งทางขับและลานจอด
4 แห่ง ติดตั้งเครื่องช่วยเดินอากาศชนิดบอกทิศทางที่หาดใหญ่ ตั้งหน่วยบินทดสอบเครื่องช่วยการเดินอากาศ
ติดตั้งอุปกรณ์วิทยุสื่อสารระหว่างสถานีวิทยุต่างจังหวัด 4 แห่ง กับศูนย์กลางสื่อสารที่กรุงเทพฯ
รวมทั้งทำการปรับปรุงบริการควบคุมการจราจรทางอากาศด้านบริเวณให้ได้ผลสมบูรณ์
|
|
2.3 โครงการปรับปรุงท่าอากาศยานดอนเมือง
ปรับปรุงทางวิ่ง ทางขับและลานจอด อาคารที่พักผู้โดยสาร และบริการควบคุมการจราจรทางอากาศด้านการลงให้สมบูรณ์
เพื่อบรรเทาความคับคั่งบริเวณท่าอากาศยานและอำนวยความสะดวกแก่การขึ้นลงของเครื่องบินต่างๆ
จนกว่าการก่อสร้างสนามบินพาณิชย์แห่งที่สองจะแล้วเสร็จ
|
|
โครงการนี้ได้เริ่มมาตั้งแต่ระยะของแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับแรก
โดยได้จัดสร้างทางวิ่งสายตะวันออกเพื่อให้เครื่องบินทหารและพลเรือนสามารถใช้เป็นที่ขึ้นลงได้อีกทางหนึ่ง
และทำการปรับปรุงอาคารที่พักผู้โดยสารให้ทันสมัยยิ่งขึ้น ในระหว่างปี พ.ศ.
2510-2514 จะทำการปรับปรุงทางวิ่งทางขับ ลานจอดและตัวอาคารให้สมบูรณ์และทำการปรับปรุงบริการควบคุมการจราจรทางอากาศด้านการลงให้ดียิ่งขึ้น
|
|
2.4 โครงการสำรวจและออกแบบสนามบินพาณิชย์ระหว่างประเทศแห่งที่สอง
เนื่องจากสนามบินดอนเมืองในปัจจุบันมีเครื่องบินขึ้นลงเพิ่มขึ้นมากทุกปี
และกำลังประสบความคับคั่ง
มากขึ้นเป็นลำดับ การปรับปรุงสนามบินดอนเมืองตามโครงการจะช่วยบรรเทาความคับคั่งไปได้เพียงชั่วคราวเท่านั้น
ประกอบกับวิวัฒนาการทางด้านการบินได้เจริญก้าวหน้าไปเป็นอันมาก จึงมีความจำเป็นที่จะต้องทำการสำรวจทางวิศวกรรมและออกแบบสนามบินพาณิชย์แห่งใหม่
ณ บริเวณที่ซึ่งกรมการบินพาณิชย์ได้จัดซื้อไว้แล้วบางส่วนให้แล้วเสร็จ
และทำการจัดซื้อที่ดินเพิ่มเติมให้ครบตามโครงการภายในระยะของแผน เพื่อพิจารณาก่อสร้างสนามบินพาณิชย์ที่ทันสมัยให้เครื่องบิน
ขนส่งประเภทไอพ่นขนาดหนักและเครื่องบินขนส่งประเภทความเร็วเหนือเสียงขึ้นลงได้โดยสะดวก
|
|
2.5 โครงการศูนย์ฝึกการบินพลเรือน
ให้การฝึกอบรมในด้านบริการควบคุมการจราจรทางอากาศ การใช้และบูรณะรักษาระบบการเดินอากาศ
การสื่อสารการบินอุตุนิยมการบินและ
การขับเครื่องบิน โครงการนี้เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2504 ด้วยการช่วยเหลือจากกองทุนพิเศษสหประชาชาติ
โดยจัดทำเป็นโครงการ 5 ปี ภายหลังจากที่การช่วยเหลือได้หมดสิ้นลงแล้ว รัฐบาลไทยโดยกรมการบินพาณิชย์ได้เข้าดำเนินการแทน
โครงการนี้จะสามารถอบรมเจ้าหน้าที่ประเภทต่างๆ ได้เป็นจำนวนระหว่าง 140-180
คนต่อปี ในระยะของแผนจะดำเนินการจัดซื้อเครื่องบิน
ฝึกจำนวน 4 เครื่อง เครื่องบินเฮลิคอปเตอร์ 2 เครื่อง จัดหาอุปกรณ์การสื่อสาร
และปรับปรุงอาคารเรียนและห้องปฏิบัติการตามความจำเป็น
|
|
2.6 โครงการจัดซื้อเครื่องบินใหม่ ปรับปรุงบริการขนส่งทางอากาศภายในประเทศให้มีสมรรถภาพสูง
สามารถอำนวยบริการที่สะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย และเพียงพอแก่ความต้องการ โดยจัดหาเครื่องบินใหม่ขนาด
25-30 ที่นั่ง จำนวน 4 เครื่อง เพื่อใช้แทนเครื่องบินเก่าที่หมดอายุใช้งาน
และนอกจากนี้จะมีการปรับปรุงโรงซ่อมเครื่องบินให้สามารถซ่อมและบำรุงรักษาเครื่องบินทีมีอยู่แล้ว
และเครื่องบินที่จะจัดหามาใหม่ให้ได้สมบูรณ์
|
|
แผนพัฒนาการขนส่งทางอากาศในแผนฯ
3 (พ.ศ. 2515-2519)
|
|
การขนส่งทางอากาศทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ
จะได้รับการปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น สำหรับการขนส่งทางอากาศภายในประเทศนั้น
จะมีการปรับปรุงสนามบินพาณิชย์ภายในประเทศทุกแห่งให้ได้มาตรฐาน และใช้การได้ตลอดปี
มีการปรับปรุงด้านบริการผู้โดยสารให้ดีขึ้น และอำนวยบริการด้วยเครื่องบินพาณิชย์ภายในประเทศที่ทันสมัย
และพอเพียงแ่ก่ความต้องการ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับบริการขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศนั้นจะสนับสนุนการดำเนินกิจการของ
บริษัท การบินไทย จำกัด ในรูปที่เป็นอยู่ปัจจุบันอยู่ต่อไป เพราะ บริษัทฯ
สามารถดำเนินการได้เป็นผลดีและทำให้ประเทศมีรายได้ที่เป็นเงินตราต่างประเทศเป็นอันมาก
ในการนี้จะมีการสนับสนุนให้บริษัทฯ มีเครื่องบินของตัวเองที่ทันสมัียตามแบบและำจำนวนที่เหมาะสมกับเส้นทางการบินด้วย
นอกจากนี้จะมีการปรับปรุงสนามบินพาณิชย์ระหว่างประเทศ ตลอดจนระบบบการควบคุมการจราจรทางอากาศให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นด้วย
ทั้งนี้จะมีการสำรวจเพื่อพิจารณาว่าจะสมควรปรับปรุงสนามบินดอนเมืองต่อไปอีกเพียงใด
เพื่อให้ใช้ประโยชน์ได้ดีที่สุด และจะมีความจำเป็นต้องย้ายสนามบินพาณิชย์ระหว่างประเทศไปอยู่
ณ ที่แห่งใหม่หรือไม่ หากผลการสำรวจแสดงให้เห็นความจำเป็นที่จะต้องย้ายสนามบิน
ก็จะทำการสำรวจและออกแบบแผนแม่บทสนามบินพาณิชย์แห่งที่สองเพื่อเตรียมไว้ก่อสร้างเมื่อจำเป็นด้วย |
|
แผนพัฒนาการขนส่งทางอากาศในแผนฯ
4 (พ.ศ. 2520-2524)
|
|
1. ท่าอากาศยานระหว่างประเทศ
|
|
ศึกษาและปรับปรุงท่าอากาศยานดอนเมือง เพื่อรักษาความเป็นศูนย์กลางในด้านการบินพาณิชย์ของภูมิภาคไว้
เพราะเป็นเครื่องสนับสนุนที่สำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ พร้อมทั้งศึกษาความจำเป็นที่จะต้องมีท่าอากาศยานกรุงเทพแห่งที่สอง
เมื่อผลการศึกษาปรากฏว่าควรจะมีท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งที่สองเมื่อใดแล้ว
การออกแบบและการก่อสร้างจะดำเนินการตามขั้นตอนของผลการศึกษา นอกจากนี้จะศึกษาสนามบินอู่ตะเภาเพื่อใช้ประโยชน์ในกิจการขนส่งสินค้าทางอากาศ
และกิจการท่องเที่ยว เื่พื่อสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมต่างๆ ทางฝั่งทะเลตะวันออก
ให้สอดคล้องกับการก่อสร้างท่า้้เรือน้ำลึกและนโยบายการตั้งชุมชนใหม่ในบริเวณนี้
เป็นการลดปัญหาการแออัดของประชากรและธุรกิจต่างๆ ในนครหลวง และปรับปรุงท่าอากาศยานเชียงใหม่ี
และท่าอากาศยานภูเก็ตให้สอดคล้องกับปริมาณการขนส่งทางอากาศที่เพิ่มขึ้น
ปรับปรุงบริการสื่อสารและการควบคุมการจราจรทางอากาศ และจะทำการปรับปรุงบริการซ่อมสร้างเครื่องบินให้สามารถบริการเครื่องบินให้แก่ต่างประเทศได้ตามความเหมาะสม
|
|
2. การขนส่งทางอากาศในประเทศ
|
|
ส่งเสริมธุรกิจการค้าของภูมิภาคในด้านการขนส่งทางอากาศ
โดยปรับปรุงสนามบินและสิ่งอำนวยความสะดวกที่เกี่ยวข้องในจังหวัดต่างๆ ปรับปรุงบริการสื่อสารการเดินอากาศและจัดหาเครื่องบินที่ทันสมัยและสอดคล้องกับความต้องการที่เพิ่มขึ้น
|
|
แผนพัฒนาการขนส่งทางอากาศในแผนฯ
5 (พ.ศ. 2525-2529)
|
|
1. เป้าหมายการขนส่งทางอากาศ
|
|
1.1 ขยายกิจการขนส่งทางอากาศภายในประเทศ
และอุตสาหกรรมการบินให้เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 10.5 ต่อปี (แผนฯ 4 เพิ่มเฉลี่ยร้อยละ
9.8 ต่อปี) โดยการเพิ่มเครื่องบินโบอิ้ง 737 อีก 2 ลำ ปรับปรุงและขยายท่าอากาศยานระหว่างประเทศในส่วนภูมิภาคเพิ่มขึ้นอีก
3 แห่ง คือ ที่เชียงใหม่ หาดใหญ่และภูเก็ต พร้อมทั้งพัฒนาท่าอากาศยานพิษณุโลกและขอนแก่นให้สามารถรับเครื่องบินโบอิ้ง
737 ได้ด้วย
|
|
1.2 การขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ
เพื่อเครื่องบินโบอิ้ง 747 อีก 1 ลำ และแอร์บัสอีกลำ
|
|
1.3 พัฒนาท่าอากาศยานกรุงเทพ
(ดอนเมือง) ให้แล้วเสร็จและเตรียมการก่อสร้าง
ท่าอากาศยานระหว่างประเทศสำหรับกรุงเทพแห่งที่ 2
|
|
1.4 พัฒนาศูนย์ซ่อมเครื่องบินให้ถึงระดับลำตัวกว้าง
|
|
1.5 จัดหาอุปกรณ์อุตุนิยมวิทยาต่างๆ
เพื่อบริการข่าวอากาศการบินได้อย่างแม่นยำรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
|
|
2. มาตรการการขนส่งทางอากาศ
|
|
2.1 พัฒนาท่าอากาศยานกรุงเทพ
(ดอนเมือง) ให้ใช้บริการไปได้จนถึง พ.ศ. 2540 รวมทั้งปรับปรุงบริการต่างๆ
เพื่ออำนวยความสะดวกและความรวดเร็วแก่กิจการบินทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ
|
|
2.2 เตรียมการเพื่อเริ่มงานก่อสร้างท่าอากาศยานระหว่างประเทศ
สำหรับกรุงเทพแห่งที่ 2 ที่อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ โดยให้มีการศึกษาเพื่อวางแผนควบคุมและป้องกันปัญหาต่างๆ
ที่จะเกิดขึ้นจากการมีสนามบินแห่งนี้ด้วย
|
|
2.3 พัฒนาท่าอากาศยานเชียงใหม่
หาดใหญ่ และภูเก็ต ให้เป็นท่าอากาศยานระหว่างประเทศที่สมบูรณ์และสอดคล้องกับปริมาณการจราจรในอนาคต
|
|
2.4 พัฒนาท่าอากาศยานพิษณุโลกและขอนแก่นให้สามารถรับอากาศยานไอพ่นขนาดกลาง
สำหรับการบินภายในประเทศและสามารถบรรทุกได้เต็มที่ปรับปรุงท่าอากาศยานภายในประเทศ
จำนวน 10 แห่ง ให้มีขีดความสามารถสอดคล้องกับปริมาณการจราจรในอนาคตต่อไปอีก
10-15 ปี
|
|
2.5 ฝึกอบรมและผลิตเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในกิจการขนส่งทางอากาศ
ให้มีคุณภาพและจำนวนเพียงพอกับความต้องการในอนาคต
|
|
2.6 ปรับปรุงบริการซ่อมบำรุงโดยจัดให้มีศูนย์ซ่อมเครื่องบินให้ถึงระดับลำตัวกว้างที่มีมาตรฐานดี
|
|
แผนพัฒนาการขนส่งทางอากาศในแผนฯ
6 (พ.ศ. 2530-2534)
|
|
1. สนามบิน
|
|
1.1 ปรับปรุงและจัดระบบให้บริการผู้โดยสารและอากาศยาน
ณ ท่าอากาศยานระหว่างประเทศให้เกิดความสะดวก คล่องตัว ปลอดภัย และประสานกันระหว่างหน่วยงานที่ดำเนินการอยู่
ส่วนการจัดเก็บค่าบริการควรจะอยู่ในระดับคุ้มทุน ซึ่งไม่เป็นภาระต่อกิจการต่อเนื่อง
|
|
1.2 สนับสนุนให้เอกชนมีส่วนลงทุนในกิจการสนามบินภูมิภาค
|
|
1.3 พิจารณาให้มีการใช้สนามบินอู่ตะเภาให้เป็นประโยชน์มากขึ้น
|
|
2. กิจการการบิน
|
|
2.1 สนับสนุนให้มีการขยายและปรับปรุงฝูงบินทั้งในและระหว่างประเทศให้เหมาะสมกับขนาดของตลาด
โดยจัดทำเป็นแผนลงทุนระยะยาว
|
|
2.2 ให้เอกชนมีส่วนร่วมลงทุนในเรื่องการเพิ่มทุนของบริษัท
การบินไทย จำกัด และบริษัท เดินอากาศไทย จำกัด
|
|
2.3 สนับสนุนให้เอกชนดำเนินการบินในเส้นทางที่บริษัท
เดินอากาศไทย ไม่ทำการบิน
|
|
3. การพัฒนาการขนส่งสินค้าทางอากาศ
มุ่งให้ประเทศไทยสามารถเป็นศูนย์กลางการขนส่งสินค้า และการคมนาคมทางอากาศในภูมิภาคนี้
โดย
|
|
3.1 จัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ
ให้เพียงพอกับความต้องการ
|
|
3.2 ปรับปรุงลดขั้นตอน
ระเบียบ พิธีการต่างๆ ร่วมทั้งพิธีการด้านศุลกากรเพื่อให้เกิดความรวดเร็วคล่องตัว
และเหมาะสมในทางปฏิบัติยิ่งขึ้น
|
|
3.3 สนับสนุนและส่งเสริมการส่งสินค้าระบบต่อเนื่องทางทะเลและทางอากาศเพื่อพัฒนากิจการค้าด้านนี้ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น
|
|
4. กิจการที่เกี่ยวเนื่องกับการบิน
|
|
4.1 เพื่อให้เกิดความสะดวก
ความคล่องตัวในการใช้สนามบินดอนเมือง รวมทั้งเป็นการสนับสนุนการท่องเที่ยวการขนส่งสินค้าทางอากาศด้วย
จึงควรเร่งปรับปรุงระบบขนส่งทางถนน และการขนส่งด้านอื่นๆ ที่เข้าสู่สนามบินดอนเมืองให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
|
|
4.2 จัดให้มีบริการเชื่อมโยงเข้าสู่เมืองโดยให้มีบริการสาธารณะมากขึ้น
เป็นการเพิ่ม
ทางเลือกให้แก่ผู้โดยสาร เช่น การขนส่งทางรถไฟ รถโดยสารประจำทาง และรถโดยสารสาธารณะ
เป็นต้น
|
|
4.3 ปรับปรุงกิจการร้านค้าปลอดภาษี
ณ บริเวณท่าอากาศยานระหว่างประเทศให้จูงใจนักท่องเที่ยวยิ่งขึ้น
|
|
4.4 ปรับปรุงและพัฒนาระบบโทรคมนาคม
ระบบข่าวสารข้อมูล เครื่องช่วยการเดินอากาศและอุตุนิยมวิทยาด้านอากาศการบินให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
|
|
แผนพัฒนาการขนส่งทางอากาศในแผนฯ
7 (พ.ศ. 2535-2539)
|
|
1. ส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการขนส่งทางอากาศในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
โดยมีแนวทางการพัฒนา ดังนี้
|
|
1.1 เพิ่มขีดความสามารถการให้บริการท่าอากาศยานพาณิชย์สากลที่มีอยู่
และที่กำลังจะพัฒนาขึ้นใหม่ให้เกิดความสะดวกในการให้บริการแก่ผู้โดยสารและสินค้าให้มากขึ้น
รวมทั้ง
ยกระดับการให้บริการให้ได้มาตรฐานสากล
|
|
1.2 ส่งเสริมให้สายการบินต่างๆ
เพิ่มการบินประจำมาลงในประเทศไทย โดยเฉพาะท่าอากาศยานพาณิชย์สากลในภูมิภาคให้มากขึ้น
ทั้งจำนวนสายการบิน และจำนวนเที่ยวบิน
|
|
1.3 ขยายและปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานที่ต่อเนื่องกับท่าอากาศยาน
เช่น โครงข่ายถนน รถไฟ ท่าเรือ ระบบท่อน้ำมัน ระบบสื่อสาร ตลอดจนการให้บริการขนส่งให้เพียงพอและมีประสิทธิภาพ
เพื่อให้เกิดความสะดวกในการเชื่อมโยงทางเข้า-ออกระหว่างสนามบินกับตัวเมือง
เขตเศรษฐกิจพิเศษ และแหล่งท่องเที่ยว
|
|
1.4 เพิ่มประสิทธิภาพด้านการจัดการ
การบริหารและพัฒนาเส้นทางบิน โดยแสวงหาความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคนี้
เพื่อประสานและเชื่อมโยงระบบอุปกรณ์ควบคุมจราจรให้พอเพียง และมีความปลอดภัยสูง
|
|
1.5 สนับสนุนและเพิ่มความสะดวกให้มีการเดินทางทางอากาศเข้าสู่ประเทศไทยเพื่อการท่องเที่ยว
ทั้งแหล่งท่องเที่ยวภายในประเทศและเชื่อมต่อไปยังแหล่งท่องเที่ยวของประเทศใกล้เคียงด้วย
|
|
1.6 ส่งเสริมให้มีการขนส่งสินค้าเชื่อมโยงระหว่างทางน้ำ
และทางอากาศ ทั้งการส่งออก การนำเข้า และสินค้าถ่ายลำ เพื่อจูงใจให้สินค้ามาผ่านประเทศไทยมากขึ้น
|
|
1.7 พิจารณาดำเนินการก่อสร้างท่าอากาศยานพาณิชย์สากลแห่งที่
2 ของกรุงเทพมหานคร เพื่อแบ่งเบาภาระของท่าอากาศยานกรุงเทพ โดยการพัฒนาดังกล่าว
ต้องคำนึงถึงความสอดคล้องในด้านการพัฒนาเมือง การพัฒนากิจการต่อเนื่องกับการบิน
การพัฒนาโครงข่ายเชื่อมโยงที่สะดวกและเหมาะสม ตลอดจนควบคุมผลกระทบด้านสภาพแวดล้อม
ให้อยู่ในระดับมาตรฐานสากล โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกิดจากเสียงรบกวน นอกจากนั้น
รูปแบบในการบริการและพัฒนาดังกล่าวควรให้เกิดความคล่องตัวทั้งด้านการดำเนินงานและการลงทุน
โดยพิจารณาให้เอกชนได้มีโอกาสเข้าร่วมในการพัฒนาดังกล่าวด้วย
|
|
2. กำหนดให้มีการจัดทำแผนระยะยาว
15 ปี ในการพัฒนาและการลงทุนของหน่วยงานต่างๆ ให้เป็นไปอย่างมีระบบและได้มาตรฐานยิ่งขึ้น
ซึ่งไม่เพียงแต่จะครอบคลุมเรื่องท่าอากาศยานและสายการบินเท่านั้น แต่ให้รวมถึงโครงข่ายการขนส่งและสื่อสาร
ตลอดจนกิจกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น การส่งเสริมการท่องเที่ยว การส่งเสริมการลงทุนและการส่งออก
รวมทั้งการพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับกิจการบินและการพัฒนาด้านเทคโนโลยีการบินที่เปลี่ยนแปลงไปด้วย
นอกจากนี้จะต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาองค์กรการวางแผนให้มีลักษณะถาวรยิ่งขึ้น
เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพในการดำเนินงาน
|
|
2.1 ปรับโครงสร้างกิจการที่เกี่ยวข้องกับการบิน
เช่น บริษัท การบินไทย จำกัด
การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย และบริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด
ให้เป็นเชิงธุรกิจมากขึ้นทั้งในด้านการบริหารการดำเนินงานและการปรับปรุงองค์กรตลอดจนวิธีการลงทุน
โดยเฉพาะการเพิ่มบทบาทเอกชนให้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาในรูปแบบต่างๆ
มากยิ่งขึ้น เช่น การให้สัมปทาน การร่วมทุน การระดมทุนจากมหาชน ตลอดจนการให้เอกชนมาลงทุนและดำเนินการในกิจการบางอย่าง
เป็นต้น
|
|
2.2 สนับสนุนการจัดตั้งสถานฝึกอบรมบุคลากรการขนส่งทางอากาศทุกสาขาในประเทศไทย
เพื่อเป็นศูนย์กลางในการฝึกอบรมและเสริมสร้างคุณภาพประสิทธิภาพของบุคลากรให้ได้มาตรฐานระดับสูง
โดยสนับสนุนเอกชนให้มีบทบาทดำเนินการในด้านนี้ให้มากขึ้น
|
|
แผนพัฒนาการขนส่งทางอากาศในแผนฯ
8 (พ.ศ. 2540-2544)
|
|
พัฒนาการขนส่งทางอากาศ
ให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการขนส่งในภูมิภาค โดยมีแผนงาน ดังนี้
|
|
1. ก่อสร้างท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งที่
2 ให้เปิดบริการได้ภายในช่วงของ
แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 ตลอดจนพัฒนาระบบเชื่อมโยงการขนส่งต่างๆ ระหว่างเมืองกับสนามบินให้มีความสะดวก
เพื่อให้สนามบินแห่งใหม่เป็นศูนย์กลางการขนส่งทางอากาศของภูมิภาคที่สมบูรณ์
|
|
2. พัฒนาสนามบินอู่ตะเภาเพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ให้มากขึ้นและสนับสนุน
ภาคเอกชนให้เข้ามามีส่วนร่วมพัฒนาการผลิตทางอุตสาหกรรมที่มีความเชื่อมโยงกับการขนส่งทางอากาศ
และความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อกระตุ้นให้เกิดอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจจากการบิน
|
|
2. พัฒนาสนามบินอู่ตะเภาเพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ให้มากขึ้นและสนับสนุน
ภาคเอกชนให้เข้ามามีส่วนร่วมพัฒนาการผลิตทางอุตสาหกรรมที่มีความเชื่อมโยงกับการขนส่งทางอากาศ
และความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อกระตุ้นให้เกิดอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจจากการบิน
|
|
3. เร่งรัดการจัดตั้งศูนย์ซ่อมเครื่องบินขนาดใหญ่
และศูนย์กลางการผลิตและขนส่งทางอากาศนานาชาติ
|
|
4. ส่งเสริมให้ภาคเอกชนเข้ามามีบทบาทในการจัดตั้งสายการบินแห่งชาติเพิ่มขึ้น
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการแก่ประชาชน ตลอดจนวางแผนและส่งเสริมการเปิดเส้นทางการบินใหม่ทั้งของภาครัฐและเอกชนที่มีความเป็นไปได้
ให้เชื่อมเมืองสำคัญของไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน
|
|
5. พัฒนาสนามบินภายในประเทศแห่งใหม่เพิ่มขึ้นตามความจำเป็นและเหมาะสม
พร้อมไปกับการพัฒนาระบบโครงข่ายขนส่งทางบกเชื่อมโยงสนามบินใหม่กับชุมชนขนาดใหญ่โดยรอบ
เพื่อให้สนามบินสามารถบริการประชาชนได้เป็นกลุ่มจังหวัด
|
|
6. เพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการต่างๆ
แก่ผู้โดยสารในการเดินทางเข้าออกจาก
ท่าอากาศยาน ให้เกิดความสะดวกต่อประชาชนและได้มาตรฐานสากล
|
|
7. ประสานความร่วมมือระหว่างรัฐและเอกชนในการพัฒนากิจกรรมทางเศรษฐกิจอื่นๆ
เพื่อสนับสนุนการให้ประเทศไทย เป็นศูนย์กลางการขนส่งทางอากาศในภูมิภาค
ได้แก่ กิจกรรมการท่องเที่ยว การจัดประชุมนานาชาติ และกิจกรรมการกีฬาระหว่างประเทศ
|
|
|