logo

ข่าวสาร >> ข่าวสาร/กิจกรรม

การติดตามโครงการภายใต้แผนงาน สร้างความเข้มแข็งแก่เศรษฐกิจฐานราก เพื่อขับเคลื่อนแผนพัฒนาภาคสู่การปฏิบัติ จังหวัดสงขลาและจังหวัดพัทลุง


วันที่ 15 ก.พ. 2566

เมื่อวันที่ 13 – 14 กุมภาพันธ์ 2566 ศาสตราจารย์ ดร.สนิท  อักษรแก้ว ประธานอนุกรรมการติดตามโครงการภายใต้แผนงานสร้างความเข้มแข็งแก่เศรษฐกิจฐานราก พร้อมด้วย ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จำนวน 2 ท่าน ได้แก่ นางสุวรรณี  คำมั่น และนางสาวนิสากร  จึงเจริญธรรม ที่ปรึกษาด้านนโยบายและแผนงาน สศช. จำนวน 2 ท่าน ได้แก่ นายสุริยนต์  ธัญกิจจานุกิจ และนายโสภณ  แท่งเพ็ชร์ นางศศิฑอณร์  สุวรรณมณี หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงวัฒนธรรม รองศาสตราจารย์ ดร.ณฐพงศ์  จิตรนิรัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง นายสมนึก  คงชู เกษตรจังหวัดพัทลุง นางวีนัส  นาคสุวรรณ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคใต้ และเจ้าหน้าที่สภาพัฒน์ฯ ลงพื้นที่จังหวัดสงขลาและจังหวัดพัทลุง เพื่อประชุมหารือและรับฟังผลการดำเนินงานโครงการสำคัญเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากในระดับพื้นที่ ประกอบด้วย (1) โครงการกระตุ้นและส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมชุมชนไทย (Community Cultural Product of Thailand : CCPOT) สู่สากล กระทรวงวัฒนธรรม กรณีชุมชนเครือข่ายทางวัฒนธรรมหัตถกรรมลูกปัดมโนราห์บ้านขาว อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา (2) โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย) กรณีโครงการการสร้างมูลค่าเพิ่มจากสาคูต้น พืชอัตลักษณ์จังหวัดพัทลุง : ไวน์สาคู และ (3) โครงการยกระดับแปลงใหญ่ด้วยเกษตรสมัยใหม่และเชื่อมโยงตลาด กรณีแปลงใหญ่สละ ตำบลทุ่งนารี อำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง

การลงพื้นที่ในครั้งนี้ คณะอนุกรรมการฯ ได้รับทราบผลการดำเนินงานว่าทุกโครงการประสบความสำเร็จบรรลุตามวัตถุประสงค์และเป้าหมาย ทั้งนี้ได้รับฟังปัญหาอุปสรรคพร้อมให้ข้อเสนอแนะ เพื่อนำไปสู่การขยายผลด้านการตลาดและให้เกิดความยั่งยืน ตอบสนองความต้องการของทุกกลุ่มเป้าหมาย โดยกรณีหัตถกรรมลูกปัดมโนราห์บ้านขาว มีจุดเด่นเป็นผู้ประกอบการรุ่นใหม่ที่นำความรู้ด้านสถาปัตยกรรมมาต่อยอดภูมิปัญญาลูกปัดมโนราห์ สร้างเป็นผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง แต่ประสบปัญหาจำนวนสมาชิกและผู้สนใจมีน้อย เนื่องจากเป็นงานทำมือที่ต้องใช้ความประณีต จึงต้องร่วมมือกับสถาบันการศึกษาคิดค้นนวัตกรรมพัฒนาอุปกรณ์ร้อยลูกปัดให้ผู้ปฏิบัติงานมีความสะดวก นอกจากนี้ควรเร่งยื่นจดทะเบียนเครื่องหมายทางการค้า NERA และจดลิขสิทธิ์ผลิตภัณฑ์ เพื่อป้องกันการลอกเลียนแบบ สำหรับการสร้างมูลค่าเพิ่มจากสาคูต้นฯ ซึ่งเกิดจากการทำงานแบบบูรณาการโดยใช้ประโยชน์จากภูมิปัญญา ภูมินิเวศ และวิทยาศาสตร์ ทำให้กลุ่มนวัตกรสามารถจดทะเบียนเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่หลากหลาย อย่างไรก็ตาม ควรส่งเสริมการนำหลัก BCG Model และพัฒนาสาคูให้ครอบคลุมตลอดทั้งห่วงโซ่การผลิต ตั้งแต่กระบวนการปลูก การแปรรูป และการตลาด นอกจากนี้จังหวัดสามารถนำระบบฐานข้อมูลรายตำบล ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการมาสนับสนุนการจัดทำเป้าหมายการพัฒนาจังหวัดครั้งละ 20 ปี สำหรับแปลงใหญ่สละตำบลทุ่งนารี เป็นต้นแบบของกลุ่มที่มีความเข้มแข็ง และมีรายได้จากการผลิตปีละ 230,000 บาทต่อไร่ ทั้งนี้กลุ่มมีแผนการก่อสร้างศูนย์รวบรวมและรักษาผลผลิต (ห้องเย็น) เพื่อให้มีอำนาจต่อรองด้านการตลาด รวมทั้งต้องการรับการสนับสนุนการวิจัย นวัตกรรม ด้านการแปรรูปสละให้เป็นสินค้ามูลค่าสูงที่ตอบโจทย์ผู้บริโภค เพื่อให้ชุมชนฐานรากมีรายได้เพิ่มขึ้น
t20230215180714_52704.jpg
t20230215180714_52705.jpg
t20230215180716_52706.jpg
t20230215180710_52707.jpg
t20230215180710_52708.jpg
t20230215180711_52709.jpg
t20230215181156_52710.jpg
t20230215180702_52711.jpg
t20230215180704_52712.jpg
t20230215180703_52713.jpg
t20230215180704_52714.jpg
t20230215180701_52715.jpg

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 962 ถนนกรุงเกษม เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพฯ 10100
โทรศัพท์ : 02-2804085 ต่อฝ่ายไอที แฟกซ์ : 0-2281-3938
E-mail : webmaster@nesdb.go.th