logo

ข่าวสาร >> ข่าวสาร/กิจกรรม

การติดตามและขับเคลื่อนผลการดำเนินงานผลการพัฒนาอุตสาหกรรมในพื้นที่ NEC- Creative LANNA ภายใต้ร่างแผนฯ 13 สู่การปฏิบัติ


วันที่ 6 ก.ค. 2565

เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน – 1 กรกฎาคม 2565 นายวิโรจน์ นรารักษ์ รองเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พร้อมด้วย นางสาวศศิธร พลัตถเดช รักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านนโยบายและแผนงาน สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ และคณะเจ้าหน้าที่กองยุทธศาสตร์และประสานการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันได้ลงพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดลำปางติดตามผลการดำเนินงานผลการพัฒนาอุตสาหกรรมในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคเหนือ (Northern Economic Corridor: NEC- Creative LANNA) โดยเฉพาะปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน รวมทั้งข้อเสนอแนะในการขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมในพื้นที่ให้มีประสิทธิภาพและต่อเนื่องยิ่งขึ้น

จังหวัดเชียงใหม่ ได้เข้าร่วมในช่วงพิธีเปิดงาน FTI EXPO 2022 ภายใต้แนวคิด "ฉากทัศน์ใหม่อุตสาหกรรมไทยสู่อนาคต เพื่อประเทศไทยที่แข็งแกร่งกว่าเดิม Shaping Future Industry for Stronger Thailand” ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติฯ จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นประธานเปิดงานและกล่าวปาฐกถาพิเศษ ซึ่งสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพในการจัดงานร่วมมือกับองค์กรภาครัฐและภาคเอกชนชั้นนำของประเทศ ครอบคลุม 11 คลัสเตอร์อุตสาหกรรม 5 ภูมิภาคทั่วประเทศ และผู้ประกอบการรายย่อยในพื้นที่ภาคเหนือกว่า 400 ราย ร่วมจัดแสดงสินค้า การประชุมสัมมนา การเจรจาธุรกิจ พร้อมนำเสนอความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและการประยุกต์นวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อเรียกความเชื่อมั่นภาคเศรษฐกิจ และภาคประชาชนให้ประเทศขับเคลื่อนไปได้อย่างเข้มแข็ง นอกจากนี้ ได้หารือกับรองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ (นายวรญาณ บุญณราช) หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง ในประเด็นการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือ (Northern Economic Corridor: NEC) เพื่อรองรับอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ โดยการใช้อัตลักษณ์ด้านวัฒนธรรม เทคโนโลยีและนวัตกรรมต่อยอด และสร้างมูลค่าเพิ่มแก่สินค้าและบริการในเชิงสร้างสรรค์ รวมทั้งการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco Industrial Town) ซึ่งจังหวัดเชียงใหม่เป็นพื้นที่นำร่องต้นแบบการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ขณะเดียวกัน ได้ร่วมหารือกับภาคเอกชน (สภาหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่) เกี่ยวกับการดำเนินโครงการการยกระดับอุตสาหกรรมนวัตกรรมอาหารแห่งอนาคตสู่ตลาดสากล (Northern Thailand Food Valley) และโครงการพัฒนานวัตกรรมสมุนไพรสำหรับเครื่องสำอางภาคเหนือ (Cosmetic Valley) เพื่อยกระดับพื้นที่ลงทุนด้านการพัฒนาให้เป็นฐานเศรษฐกิจสร้างสรรค์หลักของประเทศอย่างยั่งยืนด้วย พร้อมทั้ง ได้ติดตามเยี่ยมชมโครงการยกระดับอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ (Science and Technology Park: STeP) ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2562 โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธัญญานุภาพ อานันทนะ ผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ให้การต้อนรับ ซึ่งโครงการดังกล่าวมีส่วนช่วยสนับสนุนและผลักดันให้เกิดการพัฒนาและยกระดับการพัฒนาอุตสาหกรรมในพื้นที่ รวมทั้งสนับสนุนและเชื่อมโยงองค์ความรู้จากสถาบันการศึกษาทั่วประเทศที่เน้นพัฒนานวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ให้กับผู้ประกอบการทั้งภาคการผลิตและบริการตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง ปลายทางรองรับการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือ (Northern Economic Corridor: NEC)

จังหวัดลำปาง ได้หารือกับรองผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง (นายจำลักษ์ กันเพ็ชร์) หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องในประเด็นการขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือ (Northern Economic Corridor: NEC) การขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco Industrial Town) ซึ่งจังหวัดลำปางได้คัดเลือกอำเภอแม่เมาะ (Mae Moh Smart City) เป็นพื้นที่นำร่องต้นแบบการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ การผลักดันให้จังหวัดลำปางเป็นนครหัตถศิลป์ ถิ่นอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ โดยการใช้อัตลักษณ์ด้านวัฒนธรรม เทคโนโลยีและนวัตกรรมต่อยอด และสร้างมูลค่าเพิ่มแก่สินค้าและบริการในเชิงสร้างสรรค์ ตลอดจนการยกระดับอุตสาหกรรมเหมืองแร่ อุตสาหกรรมการผลิตพลังงานไฟฟ้า อุตสาหกรรมไม้ และอุตสาหกรรมเซรามิกให้มีมูลค่าสูงขึ้นและยั่งยืน พร้อมกันนี้ ได้เยี่ยมชมศูนย์วิจัยและพัฒนาวัสดุอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นศูนย์วิจัยและพัฒนาวัสดุอุตสาหกรรม เทคโนโลยีการผลิต และการจัดการวัสดุอุตสาหกรรมเชิงสร้างสรรค์ ถ่ายทอดเทคโนโลยี นวัตกรรม การใช้ประโยชน์จากวัสดุอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ และเป็นศูนย์กลางในการให้คำปรึกษาแนะนำ การบริการข้อมูล รวมทั้งวิเคราะห์ทดสอบวัสดุอุตสาหกรรม เพื่อรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือ Northern Economic Corridor (NEC-Creative LANNA)

ทั้งนี้ จากการรับฟังและหารือร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคสถาบันการศึกษา ในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือ Northern Economic Corridor (NEC-Creative LANNA) ได้รับทราบถึงศักยภาพและความพร้อมในการสนับสนุน "โมเดลเศรษฐกิจ BCG” การพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy Model) ซึ่งเป็น "วาระแห่งชาติ” ที่ประเทศไทยจะต้องขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรมในอนาคตภายใต้เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ตามร่างแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 ให้เป็นไปอย่างมั่นคงและยั่งยืน


กองยุทธศาสตร์และประสานการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
กรกฎาคม 2565




t20220706110637_47684.jpg
t20220706110640_47685.jpg
t20220706110646_47686.jpg
t20220706110657_47687.jpg
t20220706110928_47688.jpg
t20220706110930_47689.jpg
t20220706110935_47690.jpg
t20220706110936_47691.jpg
t20220706110937_47692.jpg
t20220706110942_47693.jpg
t20220706110944_47694.jpg
t20220706110945_47695.jpg
t20220706110954_47696.jpg
t20220706110955_47697.jpg
t20220706110956_47698.jpg
t20220706111000_47699.jpg
t20220706111001_47700.jpg
t20220706111001_47701.jpg
t20220706111004_47702.jpg
t20220706111005_47703.jpg
t20220706111007_47704.jpg
t20220706111009_47705.jpg
t20220706111015_47706.jpg
t20220706111013_47707.jpg
t20220706111018_47708.jpg
t20220706111019_47709.jpg
t20220706111019_47710.jpg
t20220706111022_47711.jpg
t20220706111023_47712.jpg
t20220706111024_47713.jpg

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 962 ถนนกรุงเกษม เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพฯ 10100
โทรศัพท์ : 02-2804085 ต่อฝ่ายไอที แฟกซ์ : 0-2281-3938
E-mail : webmaster@nesdb.go.th