|
|
|
สภาพัฒน์แจงงบประมาณปี 2564 และการจัดสรรงบประมาณปี 2565 เพียงพอพยุงเศรษฐกิจและเยียวยาประชาชนจากวิกฤตโควิด-19
วันที่ 18 พ.ค. 2564
|
|
วันนี้ (18 พฤษภาคม 2564) นายวันฉัตร
สุวรรณกิตติ รองเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ในฐานะโฆษกสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
เปิดเผยว่า
กรณีที่มีประเด็นข้อกังวลในเรื่องที่รัฐบาลไม่มีวงเงินเพียงพอในการกระตุ้นเศรษฐกิจและเยียวยาประชาชน
เนื่องจากมีการใช้เงินกู้ภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เพื่อแก้ไขปัญหา
เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม
ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563
วงเงิน 1 ล้านล้านบาท (พ.ร.ก. เงินกู้โควิด-19) ไปเต็มจำนวนแล้วนั้น
ขอชี้แจงดังนี้
ปัจจุบันการดำเนินการของแผนงาน/ โครงการภายใต้ พ.ร.ก.
เงินกู้โควิด-19 มีการอนุมัติวงเงินแล้วทั้งสิ้น 833,475 ล้านบาท
โดยยังมีวงเงินคงเหลืออีก 166,525 ล้านบาท (ที่มา :
สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ,
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, GFMIS ณ วันที่ 11
พฤษภาคม 2564) นอกจากนี้ ยังมีงบประมาณจากงบกลาง
ในส่วนของเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินและจำเป็น
ภายใต้งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 วงเงิน 99,000
ล้านบาท ซึ่งยังมีวงเงินคงเหลือ 98,213.9 ล้านบาท
และค่าใช้จ่ายในการบรรเทา แก้ไขปัญหา
และเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
2019 วงเงิน 40,325.6 ล้านบาท ซึ่งยังมีวงเงินคงเหลือ 37,108.2
ล้านบาท
รองเลขาธิการฯ กล่าวต่อไปว่า สำหรับในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 นั้น
รัฐบาลได้มีการตั้งวงเงินงบกลาง รายการสำรองจ่ายเพื่อฉุกเฉินและจำเป็น
จำนวน 89,000 ล้านบาท
ซึ่งสามารถนำมาใช้เพื่อการเยียวยาประชาชนผู้ได้รับผลกระทบได้
นอกจากนี้
มีการกำหนดกรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีสำหรับการดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจตามยุทธศาสตร์แผนแม่บทเฉพาะกิจ
อาทิ การเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากภายในประเทศ (Local
Economy)
การปรับปรุงและพัฒนาปัจจัยพื้นฐานเพื่อส่งเสริมการฟื้นฟูและพัฒนาประเทศ
(Enabling Factors)
ซึ่งเป็นการดำเนินการตามภารกิจของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องซึ่งสามารถนำมาดำเนินโครงการที่มีวัตถุประสงค์ในการฟื้นฟูและให้การช่วยเหลือเยียวยาช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด–19
ได้เช่นกัน
ดังนั้น จากข้อมูลข้างต้นทำให้มั่นใจได้ว่า ในปี 2564 และ 2565
รัฐบาลยังคงมีวงเงินเพียงพอสำหรับการดำเนินมาตรการเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ
และเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19
รองเลขาธิการฯ กล่าวย้ำในตอนท้าย
***************************
18 พฤษภาคม 2564
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 962 ถนนกรุงเกษม
เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพฯ 10100
โทรศัพท์ : 02-2804085 ต่อฝ่ายไอที แฟกซ์ : 0-2281-3938
E-mail : webmaster@nesdb.go.th
|
|